ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2011

ภาคต่างๆของเครื่องขยายเสียง

การทำงานของเครื่องขยายเสียงนั้นโดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ 1.ภาคขยายสัญญาณเบื้องต้น 2.ภาคปรับแต่งสัญญาณ 3.ภาคขยายกำลัง ในภาคขยายสัญญาณเบื้องต้นนั้น ในเครื่องเสียงบ้านแบบไฮเอนด์หรือไฮไฟ จะไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ แต่สำหรับเครื่องเสียงกลางแจ้งจะซับซ้อนกว่า เนื่องจากการกระจายเสียงที่มีพื้นที่มากกว่า ทำให้ต้องมีการปรับแต่งเยอะพอสมควร  ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึงเครื่องเสียงกลางแจ้งหรือระบบเครื่องเสียงในสตูดิโอ ภาคขยายสัญญาณเบื้องต้นก็แบ่งเป็นส่วนย่อยอีก ได้แก่  - ภาคอินพุท ซึ่งทำหน้าที่จัดการสัญญาณที่จะขยาย นั่นคือการเลือกแหล่งสัญญาณอินพุท อาทิ เช่น วิดีโอ  ซีดี  จูนเนอร์   เทป  โฟนโน(เครื่องเล่นแผ่นเสียง) และสัญญาณ AUX เป็นต้น การเลือกสัญญาณอาจถูกออกแบบในรูปแบบของสวิทซ์ธรรมดา หรือ แบบดิจิตอลก็ได้ ซึ่งเครื่องเสียงรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักเน้นแบบดิจิตอลกันหมดแล้ว  -ภาคปรีแอมป์และอิควอไลเซอร์ ในภาคปรีแอมป์นี้จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ส่งมาจากวงจรเลือกสัญญาณอินพุท ให้มีขนาดสัญญาณที่สูงขึ้นและเหมาะสมตามช่องสัญญาณอินพุท และวงจรอิควอไลเซอร์ก็จะชดเ...

ซีดีทรานสปอร์ต(CD TRANSPORT)

ซีดีทรานสปอร์ต(CD TRANSPORT) สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงหน้าใหม่ อาจสงสัยว่า เครื่องเล่นซีดีเพลเยอร์(CD PLAYER) กับเครื่องเล่นซีดีที่เรียกว่า ซีดีทรานสปอร์ต(CD TRANSPORT) นั้น มันแตกต่างกันอย่างไร และดีอย่างไร ผู้เขียนจึงอยากยกเรื่องขึ้นมาเขียนเพื่อให้เข้าใจอย่างคร่าวๆเป็นพื้นฐาน สำหรับผู้ที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักเล่นเครื่องเสียงอย่างเต็มตัว เผื่อว่าบางท่านอาจอยากหันไปเล่นเครื่องเล่นซีดีประเภทนี้ก็เป็นได้  ในวงการเครื่องเสียงไฮเอนด์แล้ว เหตุผลที่เกิดสิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาก็มีสองเหตุผลหลักก็คือ เหตุผลทางการตลาด และ เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพของเสียงที่ได้ นั่นเอง นักออกแบบเครื่องเสียงต่างก็พยายามพัฒนาเครื่องเสียงที่ดีออกสู่ตลาด เหตุผลอย่างหนึ่งที่มักนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมก็คือ การแยกภาคออกมาเพื่อพัฒนาคุณภาพนั่นเอง  คุณอาจเคยได้ยินประโยคหนึ่งมา กล่าวไว้ว่า "ในเวลาเดียวกัน คนหนึ่งคนทำงานหนึ่งชิ้นจะได้ประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีกว่า คนหนึ่งคนทำงานหลายๆชิ้นในเวลาเดียวกัน "  ในหลักการของเครื่องเสียงก็เช่นกัน หากรวมการทำงาน หรือคุณสมบัติหลายๆอย่างไว้ในตัวเดียวกัน มันก็อาจใ...

Accuphase E560 เครื่องขยายเสียงคลาสเอ

Accuphase E560 เป็นอินทิเกรตแอมป์ที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียนมาก ที่จะหยิบยกมานำเสนอให้ผู้อ่านได้ชม ถึงแม้ว่า E560 จะเป็นแอมป์ที่ออกจำหน่ายมานานแล้ว มันถูกออกแบบมาได้อย่างน่าทึ่ง เนื่องจากในตอนนั้นแอมป์แบบ 2 แชนแนลทั่วไปจะยังคงไม่เน้นรูปแบบการใช้งานที่ควบคุมด้วยระบบดิจิตอลเท่าใด นัก ยกเว้นเครื่องเสียงประเภทคอมโพเนนท์และโฮมเธียเตอร์ แต่ E560 ตัวนี้ ดูคลาสสิกและทันสมัยมาก จุดเด่นที่มันทันสมัย ไม่ได้อยู่ที่การควบคุมด้วยระบบดิจิตอล แต่รูปแบบการทำงานของมันถูกออกแบบมาได้ยอดเยี่ยมมากๆ เริ่มตั้งแต่ระบบควบคุมขนาดสัญญาณทางด้านอินพุตที่เรียกว่า AAVA Volume Control ซึ่งมีคุณสมบัติที่ไม่ทำให้สัญญาณทางอินพุตถูกบั่นทอนคุณภาพด้วยค่าความต้าน ทาน เพราะมันทำงานอยู่ในรูปแบบคล้ายๆดิจิตอล โดยจะแปลงสัญญาณที่เป็นแรงดันให้กลายเป็นกระแส(V-I converter) แล้วนำไปควบคุมด้วยหน่วยประมวลผลกลางอีกที จากนั้นก็นำกระแสมารวมกันแล้วแปลงกลับคืนในรูปแบบของแรงดันอีกครั้ง มันจึงไม่ถูกลดทอนด้วยค่าความต้านทานเลยแม้แต่นิด ค่า S/N จึงมีค่าที่สูง นอกจากนี้การออกแบบวงจรอย่างนี้จะไม่เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า การรบกวนข...

รหัสไบนารี่(Binary Codes)

รหัสไบนารี่(Binary Codes) รหัสไบนารี่ คือ กลุ่มของตัวเลขหรือสัญญาณ ที่มีระดับ 0 กับ 1 สร้างขึ้นเพื่อแทนตัวอักษร เครื่องหมาย ตัวเลข ต่างๆ เพื่อการสื่อสารในคอมพิวเตอร์  รหัสไบนารี่นั้นจะมีกี่บิตก็ได้แล้วแต่ความต้องการจำนวนรหัสที่ไม่ซ้ำกัน เช่น หากมี 4 บิต ก็จะสามารถสร้างรหัสได้ไม่ซ้ำกันถึง 16 รหัส นั่นคือ 0000 ถึง 1111 นั่นเอง และหากมี 3 บิต ก็สร้างรหัสที่ไม่ซ้ำกันได้ 8 รหัสนั่นคือ 000 ถึง 111 นั่นเอง รหัสแอสกี(Ascii Code: American Standard Code for Information Interchange) รหัส แอสกีนั้นเป็นรหัสที่ใช้ในการสื่อสารแบบอนุกรมระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์กับ อุปกรณ์รอบข้าง เป็นรหัสขนาด 8 บิต โดย 7 บิต เป็นบิตข้อมูลและที่เหลืออีก1 บิตเป็นบิตตรวจสอบ โดยบิตข้อมูลนั้นจะเป็นรหัสแทนตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ อักขรพิเศษ ที่ใช้สื่อสารนั่นเอง

ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่2

นอกจากตัวแปรและตัวดำเนินการในภาษาซีแล้ว ยังมีคำสั่งที่ใช้ควบคุม และสร้างเงื่อนไข ที่จำเป็นต่อการสร้างโปรแกรมอีก ซึ่งมันก็คือตัวกำหนดรูปแบบโครงสร้างโปรแกรมที่เราออกแบบไว้นั่นเอง อย่างน้อยมันเป็นพื้นฐานทำให้เราสามารถกำหนดฟังก์ชั่นในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา ทำให้เรามีฟังก์ชั่นที่หลากหลายไว้ใช้งาน คำสั่งควบคุมในภาษาซี คำสั่งควบคุมเป็นฟังก์ชั่นสำเร็จที่มีอยู่ในภาษาซี และจะมีรูปแบบ วิธีใช้ที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับภาษาอื่น ฟังก์ชั่นที่มีได้แก่  คำสั่ง goto label เป็นคำสั่งใช้กระโดดข้ามไปยังคำสั่งอื่นได้ทุกที่ แต่ถ้าใช้มากๆจะเกิดความยุ่งยากได้ รูปแบบ คือ    ชื่อตำแหน่ง : { คำสั่งต่างๆ ; } goto ชื่อตำแหน่ง ; คำสั่ง if แบบทางเดียว ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำตามคำสั่ง หากไม่เป็นจริงจะกระโดดข้ามนิพจน์ไป รูปแบบคือ   if(เงื่อนไข) คำสั่ง  ; หากมีหลายคำสั่ง        if(เงื่อนไข) { คำสั่งที่1 ; คำสั่งที่2 ; . . คำสั่งที่3 ; } คำสั่ง if แบบสองทาง ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขสองเงื่อนไข ถ้าเป็นจริง ให้ทำตามคำสั่งของเ...

ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่1

ในการควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ให้ทำงานตามที่เราออกแบบไว้นั้นจะต้องเขียน โปรแกรมควบคุมขึ้นมา จะด้วยภาษาใดก็ได้มีหลายภาษาด้วยกัน เช่น ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาปาสคาล และภาษาโลโก้ หรือภาษาโฟลว์ชาร์ทก็แล้วแต่ ล้วนทำได้หมดทั้งสิ้น เพียงแต่ปัจจัยที่สำคัญนั้นอยู่ที่ตัวคอมไพเลอร์ของแต่ละยี่ห้อนั้นจะทำเน้น ในภาษาใดเท่านั้น  ในที่นี้ขอกล่าวถึงภาษาซี เพราะเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมทุกยี่ห้อทุกตระกูลไมโครคอนโทรลเลอร์ มันสามารถแก้ไขได้ง่าย เพราะโครงสร้างง่ายต่อการสร้างโมดูลาร์(Modular) เมื่อเรียนรู้ของตระกูลใดๆแล้ว การศึกษาการควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูลอื่นก็ง่าย เพราะรูปแบบพื้นฐานที่เหมือนกัน จะแตกต่างกันเฉพาะคำสั่งเฉพาะของไมโครคอนโทรลเลอร์แต่ละตระกูลเท่านั้น พื้นฐานที่จำเป็นของภาษาซี ตัวดำเนินการเลขคณิตในภาษาซี -              การลบ                                ...

ระบบเลขฐาน

ระบบเลขฐาน โดยปกติในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นมักเกี่ยวข้อง กับเลข เลขที่ใช้กันนั้นเราเรียกว่าเลขฐานสิบ  บางคนอาจไม่ทราบว่ามีเลขกี่ฐาน อาจทราบเพียงว่าก็มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ 0-9 ซึ่งมีสิบตัว แต่ความจริงแล้วมีมากกว่าฐานสิบ นั่นคือ เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบหก  เพียงแต่เราไม่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันเท่านั้นเอง  เลขฐานที่กล่าวมานี้ใช้ในคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานในระบบดิจิตอล เป็นลอจิก คือ "0" กับ "1" ซึ่งเป็นไบนารี่หรือเลขฐานสองนั่นเอง  และเมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานติดต่อกับมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับตัวอักขระ ดังนั้น จึงการทำงานคอมพิวเตอร์จึงต้อง ประกอบเลขไบนารี่ขึ้นมาเป็นเลขฐานสิบหก นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเลขฐานสามารถเขียนแสดงได้ดังนี้ เลขฐานสิบหก(Hexadicimal) จะมีเลขพื้นฐานสิบตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F เลขฐานสิบ(Decimal) จะมีเลขพื้นฐานสิบตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 เลขฐานแปด(Octal) จะมีเลขพื้นฐานสิบตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7 เลขฐานสอง(Binary) จะมีเลขพื้นฐานสิบตัวคือ 0,1 การนับเลขฐานนั้นในแต่ละฐานสามารถแสดงให้เข้าใจมากขึ...

FMJ A18 อินทริเกรทแอมป์น้องใหม่จาก ARCAM

ข้อมูลทางเทคนิค (จากโรงงาน) FMJ A18 Output power (20Hz—20kHz at 0.5% THD), per channel: Both channels driven, 8Ω, 20Hz—20kHz - 50W Single channel, 4Ω, at 1kHz - 70W Total harmonic distortion, 80% power, 8Ω at 1kHz - 0.01% Inputs Phono Sensitivity at 1kHz - 2.5—15mV Input impedance 47kΩ S/N (CCIR, 45W) 88dB Clipping margin 31dB Line & AV: Nominal sensitivity 250mV—1.5V Input impedance 22kΩ S/N (CCIR, 45W) 98dB Pre-out: Nominal output voltage 630mV Output impedance <50Ω Headphone output: Maximum output voltage at 600Ω 7V Output impedance 100Ω General: Power voltage 110—120V or 220—240V Maximum power consumption 350W Dimensions W x D x H (with feet) 432 x 275 x 85mm Weight 7.2Kg FMJ นั้นมาจากคำว่า ‘Full Metal Jacket’ เนื่องจาก FMJนั้นถูกออกแบบโดยโลหะทั้งเครื่อง รวมทั้งแจ็คต่อสัญญาณเข้า ก็เป็นโลหะ เหตุผลก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการชีลสัญญาณที่ดี หน้าปัดก็ถูกออกแบบเป็นอะลูมิน...

การคำนวณเลขฐาน

การคำนวณทางเลขฐาน ในระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะรันโปรแกรมใดๆโดย ส่วนใหญ่หลักพื้นฐานจะต้องมีการคำนวณทางคณิตศาตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นพื้นฐานทางคณิตศาตร์ในระบบดิจิตอลมีความจำเป็นมาก ไม่ว่าจะเป็นการ บวก ลบ คูณ หาร เลขฐานที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นได้แก่ เลขไบนารี่ หรือเลขฐานสอง และเลขฐานสิบหก เป็นต้น ก่อนอื่น ต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ในการ บวก ลบ คูณ หาร เลขไบนารี่เสียก่อน ดังนี้ การบวกเลขฐานสอง มีเกณฑ์เพียง 4 กรณีดังนี้ 1. 0+0=0 2. 0+1=1 3. 1+0=1 4. 1+1=0   ( ทดหลักต่อไป 1) , 1+1 = 2 ผลลัพธ์ที่ได้เกินเลขพื้นฐานของเลขฐานสอง จะต้องลบด้วย2 จึงต้องใส่ค่าเป็น 0 แล้วทด 1 การลบเลขฐานสอง มีเกณฑ์เพียง 4 กรณีดังนี้ 1. 0-0=0 2. 1-0=1 3. 1-1=0 4. 0-1=1 (ยืม จากบิตที่มีน้ำหนักมากกว่ามา 1) ,การมีหลักเกณฑ์ คือ ตัวที่ให้ยืมมีค่าลดไป 1 ค่า ,และค่าที่ยืมมา 1นั้น(ในเลขฐานสองมีค่าเท่ากับ2)ให้นำไปบวกกับตัวที่ยืมแล้วทำการลบได้เลย การคูณเลขฐานสอง มีเกณฑ์เพียง 4 กรณีดังนี้ 1. 0x0=0 2. 0x1=0 3. 1x0=0 4. 1x1=1 การหารเลขฐานสอง มีวิธีการเหมือนกับเลขฐานสิบ คือ  0/1=0  1/1=1 ...

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข ในกระบวนการทางดิจิตอลนั้น การติดต่อสื่อสารทางตัวเลข บางครั้ง เมื่อต่างระบบ ค่าตัวเลขก็อาจต่างกัน ระบบหนึ่งอาจใช้เลขฐานสิบ อีกระบบอาจใช้เลขฐานสองในการทำงานในระบบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนเลขฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารให้ทั้ง สองระบบเข้าใจกัน  ดังนั้นจึงควรรู้วิธีการเปลี่ยนระบบเลขฐาน เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการทำการเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบ ดิจิตอลในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนฐานนั้น คือ ค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขในแต่ละฐาน ซึ่งจะบอกให้เราทราบว่า ผลรวมจากค่าประจำตำแหน่งเป็นค่าจริงเท่าไหร่เมื่อเทียบกับค่าเลขในฐานอื่น ซึ่งค่าประจำตำแหน่งจะเขียนให้อยู่ในเลขยกกำลัง ได้ดังนี้                        ตารางเทียบค่าเลขยกกำลัง                                รูปที่1.ตาราง...

โวลลุ่มคอนโทรลแบบ AAVA

AAVA มาจากคำว่า Accuphase Vari-gain Amplifier เป็นระบบควบคุมระดับสัญญาณเสียง ที่ใช้ในเครื่องเสียงของ Accuphase โดยหลักการที่ออกแบบนั้น ไม่ใช้ความต้านทานแบบปรับค่าเลย เพื่อต้องการประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรูปและความถี่ของสัญญาณ นอกจากนี้ค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุท ก็จะไม่เปลี่ยนค่าเช่นกัน นั่นหมายความว่า จะได้ค่า S/N และค่า THD ที่ดีเหมือนเดิม AAVA มันทำงานอย่างไร? เริ่มจากการป้อนสัญญาณเสียงผ่านวงจรบัฟเฟอร์ แล้วเข้าสู่วงจรแปลงแรงดันเป็นกระแส โดยแบ่งให้เป็น 16 ระดับขั้น เพื่อให้สามารถทำงานในรูปแบบของดิจิตอลได้ หากมองในรูปแบบของดิจิตอล 16 ส่วนนี้ ก็คือบิตข้อมูล 16 บิตนั่นเอง    ที่ขาออกของสัญญาณทั้ง16ส่วนนี้ จะถูกปิด-เปิด สัญญาณด้วยสวิทช์ 16 ตัวอีกทีหนึ่งโดย CPU ซึ่งCPUจะประมวลผลจากลูกบิดควบคุมระดับสัญญาณของผู้ใช้อีกทีหนึ่ง การควบคุมสวิทช์ทั้ง16ตัวนี้ กระทำในรูปแบบเลขฐาน16 คือ 00h-FFh หรือเทียบกับเลขฐานสิบได้เป็น 00-65,536 ดังนั้นระดับสัญญาณที่ป้อนเข้ามาจะปรับได้ 65,536 ระดับ หมายความว่า แรงดันสัญญาณอินพุตใน 1ค่าระดับ มีค่าเท่ากับ การนำค่าแรงดันสัญญาณหารด้วย 65...

การทำงานเครื่องขยายเสียงคลาสดี

การทำงานเครื่องขยายเสียงคลาสดี โดยหลักการพื้นฐานของเครื่องขยายเสียงคลาสดีนั้น ไม่ซับซ้อนอะไรมากมายนัก เหมือนกับแอมป์ทั่วไปเพียงแต่การขยายสัญญาณ ต้องแปลงสัญญาณเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณพัลซ์เสียก่อน เพื่อให้งายต่อการขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้นทันทีโดยไม่มีความเพี้ยนทางรูปสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณเป็นสัญญาณพัลซ์นั่นเอง ไม่เหมือนกับสัญญาณเสียงซึ่งเป็นสัญญาณที่มีการไต่ระดับ(ลิเนียร์) จึงต้องมีวงจรที่ซับซ้อน เพื่อให้สัญญาณไม่เสียรูปทรง หลังจากขยายสัญญาณแล้วก็นำสัญญาณที่ได้กรองเอาแต่ความถี่ที่ต้องการ(ช่วงความถี่เสียง 20Hz-20KHz)ก่อนออกสู่ลำโพง การทำงาน เริ่มโดยนำสัญญาณเสียงจากภายนอกจากอินพุทมาแปลงสัญญาณโดยวงจรเปรียบเทียบสัญญาณ ซึ่งมีสัญญาณฟันเลื่อยเป็นสัญญาณเปรียบเทียบ สัญญาณฟันเลื่อยมาจากวงจรออสซิลเลเตอร์ภายในเครื่อง และผลต่างจากการเปรียบเทียบสัญญาณทั้งสองสัญญาณนี้จะได้เป็นสัญญาณพัลซ์ออกที่เอาท์พุตของวงจรเปรียบเทียบ พัลซ์ที่ได้จะมีความกว้างตามรูปสัญญาณเสียงทางอินพุตที่นำมาเปรียบเทียบ โดยหากเป็นซีกบวกของสัญญาณเสียง พัลซ์จะมีความกว้างมาก หากเป็นซีกลบของสัญญาณเสียง สัญญาณพัลซ์จะมีความกว้างแคบลงดัง...

การเลือกลำโพง

ลำโพงเป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญที่สุดในการเชื่อมโยงเสียงเพลงจากแหล่งมาสู่หูฟัง มันอาจกินงบประมาณถึงครึ่งของงบ การซื้อลำโพงที่มีราคาแพงอาจได้ของดีมา แต่มันไม่ใช่หัวใจหลักของการเลือกซื้อลำโพงที่ถูกต้อง ลำโพงมีหลายขนาดจึงมีหลักในการเลือกอยู่ 3 ประการ คือ ขนาดของห้อง รสนิยมการฟังเพลง และงบประมาณ ลำโพงขนาดเล็ก จะแบบวางหิ้งหนังสือหรือความสูงไม่เกิน 2 ฟุต จัดอยู่ในประเภทคุ้มค่าสมราคา ถึงเบสไม่มากนัก ถ้าเพิ่มฐานตั้งลำโพงให้สูงสัก 1-2 ฟุต การทำงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเชียวล่ะแต่ถ้าต้องการเสียงเบสนุ่มลึกด้วย และมีงบก็สามารถเพิ่มลำโพงซับวูฟเฟอร์ได้ภายหลังได้เช่นกัน ลำโพงขนาดกลาง คนนิยมมากและขายดีที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นทรงมินิทาวน์เวอร์สูงประมาณ 3-4 ฟุต มีฐานขนาดประมาณ 1 ตารางฟุต ตอบสนองความถี่ได้ทุกย่าน ยกเว้นความถี่ย่านอ็อคเตฟต่ำๆ ลำโพงขนาดใหญ่ เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ ตัวลำโพงส่วนใหญ่เป็นทรงทาวน์เวอร์ ให้เสียงได้ทุกย่านความถี่ แต่ราคาก็แพงหูฉี่ ตั้งแต่คู่ละหลายหมื่นถึงหลายแสนบาท มันเหมาะกับชุดเครื่องเสียงไฮ-เอนด์ การเลือกลำโพงใช่ว่าจะเลือกกันที่ขนาดอย่าง เดียว โดยเฉพาะถ้าหากว่าคุณมีงบจำกัด...

เครื่องขยายเสียงคลาสดี(Class D)

เมื่อยุคของความเป็นดิจิตอลได้เกิดขึ้น สิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ต่างก็พยายามปรับปรุงตัวเองจากรูปแบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล ด้วยเหตุผลทางการตลาด แต่มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด และปัจจุบันก็ยังคงมีอุปกรณ์บางอย่างที่ยังคงจำเป็นต้องใช้ในรูปแบบอะนาล็อกอยู่ หากพูดถึงเครื่องเสียง และเน้นเกี่ยวกับเครื่องขยายเสียงไม่ว่าภายในบ้านหรือกลางแจ้ง ต่างก็มีการพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอลกันมากขึ้น เนื่องจากแหล่งสัญญาณก็เป็นดิจิตอลกันหมดแล้ว เช่น เครื่องเล่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นMP3 โทรศัพท์ เป็นต้น การพัฒนาคลาสของเครื่องขยายเสียงก็พัฒนามาจนถึงขั้นที่เรียกว่าใกล้เป็นดิจิตอลเต็มตัวแล้ว(90%)ในบทความที่แล้ว( คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง )ได้พูดถึงเครื่องขยายเสียงคลาสเอบีเป็นเรื่องล่าสุด แต่นั่นก็ยังถือว่ายังไม่ก้าวเข้าสู่โลกดิจิตอลเลยแม้แต่น้อย คลาสที่พัฒนาต่อจาก คลาสเอบี ซึ่งได้แก่ คลาสจี(G) คลาสเอช(H) ตามลำดับ ก็เป็น การพัฒนาทางขุมพลังงานให้ทำงานสัมพันธ์กับกำลังงานที่ต้องการใช้ หรือพูดได้ว่าหากสัญญาณแรงมากขึ้น ภาคจ่ายไฟก็จ่ายกระแสหรือแรงดันมากขึ้นนั...

ค่าความเพี้ยนกับค่าS/N

ความเพี้ยน(Distortion) ความเพี้ยนคืออะไร มันเป็นการวัดความผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงเทียบกันระหว่างขาเข้ากับขาออก ตั้งแต่รูปของสัญญาณเสียง และความถี่ ว่าขาเข้ากับขาออกมันแตกต่างกันแค่ไหน คำๆนี้อาจรวมไปถึงสัญญาณรบกวนที่ติดเข้ามากับสัญญาณเสียงด้วยก็ได้ ในที่นี้จะหมายถึงความไม่เป็นเชิงเส้นของการขยายสัญญาณ ความเพี้ยนที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดอาการฮาร์โมนิคดิสทอร์ชั่น นั่นก็คือ เสียงซ่าเหมือนเสียงวิทยุ หรือ อาจจะเป็นความกระด้างของน้ำเสียง อาการนี้จะเกิดและเพิ่มขึ้นเมื่อแอมป์ทำงานใกล้หรือเลยจุดสูงสุด การวัดนี้จะทำการวัดทุกย่านความถี่(20Hz-20KHz)แล้วพล็อตกราฟออกมาเป็นตารางสเป็ค บางที่การวัดนั้นอาจเป็นการวัดในรูปแบบรวม THD+N หรืออาจจะเป็น THD กับ Noise แยกกัน ส่วนใหญ่ค่านี้ จะไม่ควรให้เกิน 1% ค่าที่ได้จริงควรต่ำกว่า 0.1%(ระดับ Hi-Fiจะต่ำกว่านี้มาก)เพราะว่าค่านี้เป็นค่าที่หูคนเราไม่สามารถจับได้แล้ว แต่ส่วนใหญ่เรื่องการวัดค่านี้ ผู้ผลิตมักวัดต่ำกว่าจุดทำงานสูงสุดของเครื่องขยายสัญญาณอยู่แล้ว ค่าออกมา มาตรฐานการวัดจึงไม่เท่ากันนัก และสังเกตุ แอมป์แบบโซลิทสเตทจะให้ความเพี้ยนสูงที่ค่าการทำงานกำล...

กำลังวัตต์กับความดัง

เรื่องนี้เกี่ยวกับกำลังขับของแอมป์ที่กระทำ กับลำโพง แล้วได้ระดับความดังเท่าไหร่ อาจเป็นปัญหาสำหรับคนบางคนที่ไม่สามารถเลือกกำลังขับให้เหมาะกับขนาดลำโพง ได้ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับระดับความดัง ที่มีหน่วยเป็น dB ก่อน เราสามารถเปรียบเทียบระดับความดังออกมาได้ดังนี้ 40dB เสียงรบกวนที่เป็นแบ็คกราวน์ เช่น เสียงแอร์ 50dB เสียงการจราจรไกลๆ 60dB ดนตรีเบาๆ แผ่วๆ 70dB เสียงสนทนา 80dB เสียงดนตรีโดยเฉลี่ย 90dB เสียงดนตรีดังมากๆ 100dB เสียงดนตรีแสดงสดดังมากๆ 110dB เสียงระเบิดดังต่อเนื่อง (หูจะเริ่มหนวก) คราวนี้ก็เข้าเรื่อง วัตต์กับความดังกันได้ครับ เนื่องจากระดับกำลังขับของแอมป์ที่เพิ่มขึ้นกับระดับความดังของเสียงที่หูคน เรารับรู้ได้นั้น ไม่เป็นสัดส่วนคงที่ ดังนั้น หากกล่าวตามกฎของ Weber Fechner ก็คือ ต้องเพิ่มกำลังขับขึ้น1เท่าตัว จึงจะได้ระดับความดังเพิ่มขึ้น 3dB แล้วจะใช้แอมป์กำลังขับขนาดเท่าไหร่ ระดับความดังเท่าไหร่ ต้องใช้ ความไวของลำโพงเท่าไหร่จึงจะได้ความดังตาม ต้องการ เราสามารถหาได้จากสูตรนี้ครับ SPL = 10(Log P)+ S SPL คือ ระดับแรงดันเสียง (dB) P คือ กำลังขับต่อเนื่องของแอมป์ มีห...

การเลือกแอมป์ให้กับลำโพง

สำหรับนักเล่นหน้าใหม่อาจมีคำถามในใจ ว่าจะเลือกซื้อแอมป์ขนาดซักกี่วัตต์เพื่อให้ได้เป็นคู่แมตช์กันระหว่างลำโพง กับแอมป์ และจะเลือกสเป็คอย่างไรดี สำหรับผมแล้วมีแนวทางไม่มากมาย นัก(นักเล่นระดับมิดไฟ-ไฮไฟ)เพราะถ้าดูรายละเอียดเยอะไปก็คงไม่ได้ซื้อซักที มีดังนี้ 1.ค่าของ วัตต์(watt) เครื่องเสียงในบ้านไม่ต้องใช้วัตต์มากมายหรอกครับ ให้ดูขนาดวัตต์ของลำโพงก่อน(หากมีลำโพงอยู่แล้ว)และขนาดของ ห้องที่ใช้ฟัง เพราะถ้าหากเราเลือกวัตต์มากๆไว้ก่อนเราก็จ่ายเงินมากโดยไม่จำเป็นครับ และวัตต์มากๆใช่ว่าจะเป็นผลดี ให้เลือกแอมป็ที่มีวัตต์น้อยกว่าวัตต์ของลำโพงจะปลอดภัยครับ ให้ต่ำกว่า ประมาณ 20เปอร์เซนต์ หรือถ้าจะเลือก ลำโพงวัตต์น้อยกว่าแอมป์ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ต้องระวังเรื่องของการลด-เร่งโวลลุ่มสักนิด เพราะถ้าเร่งเสียงจากแอมป์ออกไปมีกำลังสูงกว่าลำโพงจะรับได้ เมื่อนั้นลำโพงจะจบสิ้นทันทีและตามด้วยแอมป์ที่คุณรักมากที่สุดอีกตัว เพราะแอมป์มีวงจรป้องกันลำโพงหากแอมป์มีปัญหา แต่ไม่มีวงจรป้องกันตัวเองจากลำโพงที่มีปัญหา ถึงมี ประสิทธิภาพก็พึ่งพาไม่ได้ครับ เรื่องนี้ผมเจอมากับตัวเองครับ 2.ค่าของอัตราการรบกวนของสัญญาณ(S/N) ค...

การนำไมโครคอนโทรลเลอร์ไปใช้งาน

ในการนำไมโครคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานนั้น เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมด้วย เช่น ภาษาซี , ภาษาเบสิก , ภาษาปาสคาล เป็นต้น หรือถ้าจะให้ดีรู้ลึกถึงภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเนโมนิกส์ได้เลยยิ่งดีมาก เพราะการจะพัฒนาโปรแกรมต้องเข้าใจโครงสร้างอย่างละเอียดของไมโครคอนโทรลเลอร์และภาษานีโมนิกส์ที่ใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูลนั้นด้วย ซึ่งในแต่ละตระกูลคำสั่งในการประมวลผลบางคำสั่งก็แตกต่างกัน รูปแบบใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น อธิบายคร่าวๆได้ดังนี้ >> เขียนโปรแกรม และบันทึก >> คอมไพล์(แปลภาษา)โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาให้เป็นภาษาไมโครคอนโทรลเลอร์ >> โหลดข้อมูลลงไมโครคอนโทรลเลอร์ >> นำไมโครคอนโทรลเลอร์ทดสอบการทำงาน >> เมื่อทดสอบผ่าน นำไปใช้งานตามที่ออกแบบไว้ **หมายเหตุ** การคอมไพล์มีหลายระดับสามารถไล่ระดับได้ดังนี้ - ภาษาที่ใกล้เคียงภาษาคนเรียกว่าภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาซี,เบสิก,ปาสคาล,โลโก้ ฯลฯ - ภาษาแอสเซมบลี หรือนีวโมนิกส์ การแปลภาษาแอสเซมบลีกได้โดย การแอสเซมเบอร์ แล้วจะได้ภาษาเครื่องออกมา - ภาษาเครื่อง ...