บทความยอดนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาคต่างๆของเครื่องขยายเสียง


การทำงานของเครื่องขยายเสียงนั้นโดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
1.ภาคขยายสัญญาณเบื้องต้น
2.ภาคปรับแต่งสัญญาณ
3.ภาคขยายกำลัง
ในภาคขยายสัญญาณเบื้องต้นนั้น ในเครื่องเสียงบ้านแบบไฮเอนด์หรือไฮไฟ จะไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ แต่สำหรับเครื่องเสียงกลางแจ้งจะซับซ้อนกว่า เนื่องจากการกระจายเสียงที่มีพื้นที่มากกว่า ทำให้ต้องมีการปรับแต่งเยอะพอสมควร  ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึงเครื่องเสียงกลางแจ้งหรือระบบเครื่องเสียงในสตูดิโอ


ภาคขยายสัญญาณเบื้องต้นก็แบ่งเป็นส่วนย่อยอีก ได้แก่ - ภาคอินพุท ซึ่งทำหน้าที่จัดการสัญญาณที่จะขยาย นั่นคือการเลือกแหล่งสัญญาณอินพุท อาทิ เช่น วิดีโอ  ซีดี  จูนเนอร์   เทป  โฟนโน(เครื่องเล่นแผ่นเสียง) และสัญญาณ AUX เป็นต้น การเลือกสัญญาณอาจถูกออกแบบในรูปแบบของสวิทซ์ธรรมดา หรือ แบบดิจิตอลก็ได้ ซึ่งเครื่องเสียงรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักเน้นแบบดิจิตอลกันหมดแล้ว
 -ภาคปรีแอมป์และอิควอไลเซอร์ ในภาคปรีแอมป์นี้จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ส่งมาจากวงจรเลือกสัญญาณอินพุท ให้มีขนาดสัญญาณที่สูงขึ้นและเหมาะสมตามช่องสัญญาณอินพุท และวงจรอิควอไลเซอร์ก็จะชดเชยการสูญเสียของสัญญาณบางความถี่ และกำจัดสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ออกไป ตามความเหมาะสมของแต่ละช่องสัญญาณ ไม่สามารถปรับแต่งจากผู้ใช้ได้
 -ภาคโวลลุ่มและลาวด์เนส ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสัญญาณเสียงหรือขนาดของสัญญาณที่ขยายแล้วก่อนส่งไปยังภาคโทนคอนโทรล ซึ่งควบคุมจากผู้ใช้นั่นเอง และวงจรลาวด์เนสก็ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มเสียงทุ้มและแหลมให้มากขึ้นในขณะที่ตำแหน่งโวลลุ่มยังต่ำอยู่
แต่เมื่อผู่ใช้ปรับเกินครึ่งของทั้งหมดวงจรลาวด์เนสก็ไม่มีผลใดๆต่อเสียง


ภาคปรับแต่งสัญญาณเสียง แบ่งเป็น 2 แบบ
 -วงจรโทนคอนโทรล ทำหน้าที่ปรับแต่งสัญญาณเสียง เพิ่ม-ลด ความแรงบางความถี่จากผู้ใช้ ไม่กำหนดตายตัวเหมือนวงจรอิควอไลเซอร์ วงจรโทนคอนโทรลมีตัวปรับสามตำแหน่งคือ BASS ปรับความแรงของเสียงทุ้ม 20Hz-500Hz , MIDDLE ปรับความแรงเสียงกลาง 200Hz-5KHz, TREBLE ปรับความแรงของเสียงแหลม 2KHz-20KHz
 -วงจรกร๊าฟฟิคอิควอไลเซอร์  ทำหน้าปรับแต่งสัญญาณเหมือนวงจรโทนคอนโทรลแต่ จะแยกย่านความถี่ออกหลายๆย่านความถี่ อย่างน้อย 5 ย่าน สูงสุด 21 ย่าน การแบ่งย่านก็จะแบ่งออกเป็นอ็อคเตฟ(Octave) ปุ่มปรับจะเป็นแถบสไลด์หลายๆอัน







ภาคขยายกำลัง Power Amplifier
 ภาคนี้ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ผ่านการปรับแต่งจากผู้ใช้แล้ว ให้แรงขึ้นมากพอที่จะขับลำโพงได้ แบ่งเป็นสองช่วง คือ
 - ภาคไดร์ฟเวอร์ หรือภาคขับ ภาคนี้จะเป็นขยายสัญญาณให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยจะเป็นการขยายทางความสูงของสัญญาณ(แรงดัน)
 - ภาคเอาท์พุต หรือภาคเพาเวอร์เอาท์พุต ภาคสุดท้ายนี้จะเป็นการขยายทางด้านกระแส เพราะภาคนี้ต้องการกำลังที่จะขับลำโพง (ลำโพงบริโภคกำลังเป็นอาหาร) จะเห็นได้ว่าเครื่องขยายเสียงหลายยี่ห้อที่มีอัตราการจ่ายกำลังสูงๆ(วัตต์สูงๆ) จะมีภาคเอาท์พุตที่ขนานกันหลายๆคู่(เพื่อเพิ่มแบนวิดช์ หรือช่องทางกระแสใหญ่ขึ้น)
 ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากกฎของวัตต์นั่นเองซึ่งมี แรงดันและกระแสเป็นตัวแปรสำคัญ นั่นคือ I * V = P, I(I*R) = P แต่ในการคำนวณวัตต์เครื่องขยายจริงมีรายละเอียดมากกว่านี้ไม่ขอกล่าวถึงครับ



 สรุป : จากที่กล่าวถึงภาคต่างๆทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบของเครื่องขยายเสียงที่ใช้ในบ้านแบบ อินทริเกรตแอมป์ไม่ได้กล่าวถึงเครื่องขยายแบบแยกชิ้นที่มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็จะมีวงจรปลีกย่อยลงไปอีกมากมายกว่านี้ ดังนั้นองค์ประกอบที่กล่าวมานี้ก็คือพื้นฐานของเครื่องขยายเสียงแบบต่างๆเท่านั้นเอง