ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2011

ตัวต้านทานปรับค่าได้(Variable Resistor)

ตัวต้านทานปรับค่าได้(Variable Resistor) ตัวต้านทานปรับค่าได้มีหลายแบบด้วยกัน เช่น แบบหมุนแกน แบบปรับแท็ป แบบทริม และรีโอสตัด                                    รูปที่ 1.สัญลักษณ์ตัวต้านทานปรับค่าได้เมื่อเทียบกับของจริง แบบหมุนแกน(Potentiometer) ตัวต้านทานปรับค่าได้หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าโวลลุ่ม(volume) ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะว่าส่วนใหญ่พบเจอในเครื่องขยายเสียงแล้วเรียกกันจนติดปาก ความจริงมีให้เห็นกันมากมาย ไม่เฉพาะในเครื่องขยายเสียง เครื่องมือวัดก็ใช้กัน โทรทัศน์รุ่นเก่าๆ เครื่องคุมแสง สี เครื่องจ่ายไฟสำหรับห้องทดลอง เป็นต้น                                                 รูปที่...

ตัวต้านทานและการใช้งาน

คุณสมบัติของตัวต้านทานนั้นคือ จำกัดกระแสที่ไหลผ่านวงจร มีค่าหน่วยวัดเป็นโอห์มดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในหัวข้อ ตัวต้านทาน(RESISTOR) ในการใช้งานจริงจะมีกฎของโอห์มเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากวงจรทุกวงจรย่อมมี ทั้งแรงดัน กระแส และความต้านทาน การใช้งานนั้นแบ่งไว้เป็น 2 ลักษณะการใช้งานคือ ใช้ในวงจรสัญญาณหรือวงจรไฟกระแสสลับ (AC Voltage) และวงจรไฟตรง(DC Voltage) แต่การใช้งานงานทั้งสองลักษณะนี้ก็มีรูปแบบที่ไม่ต่างกัน                                                                             รูปที่1 รูปที่1. เป็นลักษณะวงจรที่ใช้ทั่วไป รูปa เป็นการต่อแบบขนานและนำแรงดันตกคร่อมไปใช้งานซึ่งจ่ายให้โหลดคือ RL ,รูปb ต่อแบบอนุกร...

ตัวเก็บประจุ(Capacitor,Condencer)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้งานเป็นตัวกรองแรงดัน,เป็นตัวผ่านหรือเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างวงจรสองภาคเข้าด้วยกัน(การคลัปปิ้ง),ใช้ในงานทางด้านความถี่ เช่น วงจรกรองความถี่หรือวงจรเรโซแนนซ์ เป็นต้น  ภายในตัวเก็บประจุประกอบไปด้วยแผ่นโลหะตัวนำสองแผ่น วางห่างกันโดยมีสารไดอิเล็กทริกกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง และชนิดของตัวเก็บประจุนั้นจะขึ้นอยู่กับสารไดอิเล็กทริกที่ใช้ได้แก่ อิเล็กทรอไลต์,โพลีเอสเตอร์,เซลามิก,ไมล่าร์,แทนทาลั่ม เป็นต้น ตัวเก็บประจุมีหลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะที่จะนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแยกแยะการใช้งานได้ัดังในตาราง ชนิดและการนำไปใช้งานของตัวเก็บประจุ ชนิดของตัวเก็บประจุ การนำไปใช้งาน อิเล็กทรอไลต์ ใช้กรองแรงดันไฟตรงให้ราบเรียบ ใช้ในการคัปปลิ้งสัญญาณ แทนทาลั่ม ใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำของค่าความจุสูง เซลามิก ใช้ในวงจรเรโซแนนซ์ ใช้ในวงจรกรองความถี่สูง โพลีเอสเตอร์ ใช้งานทั่วไป มีค่าให้เลือกมาก โพลีคาร์บอเนต ใช้ในงานชดเชยอุณหภูมิ โพลีโพรไพลีน ใช้ในงานกำลังสูง วงจรคอนเวอร์เตอร์,อินเวอร์เตอร์ โพลีส...

ไดโอด(diode)

ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ อันได้แก่ ซิลิคอนหรือเยอรมันเนี่ยมเป็นต้น โดยการนำสารเหล่านี้มาสร้างสารกึ่งตัวนำชนิด PและชนิดN แล้วนำสารสองชนิดนี้มาประกอบกันเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติการนำกระแสทางเดียวขึ้นมา เรียกว่าไดโอด    รูปที่1.ไดโอด การนำกระแสทางเดียวนั้นหมายถึง การที่ไดโอดสามารถยอมให้กระแสไฟไหลผ่านตัวมันได้ก็ต่อเมื่อเราป้อนไฟบวกเข้าที่ขั้ว Anode และไฟลบเข้าที่ขั้ว Cathode ของมันเท่านั้น หากกลับขั้ว ไดโอดจะไม่นำกระแส จนกว่าแรงดันนั้นสูงจนถึงขั้นแรงดันพังทะลาย ไดโอดก็จะเสียหาย                                                        รูปที่2. การนำกระแสของไดโอด ลักษณะงานที่มีการนำไดโอดมาใช้ในวงจรยกตัวอย่างเช่น วงจรแปลงกระแสไฟ จากไฟกระแสสลับเป็นไฟกระแสตรง(วงจรเร็กติไฟเออร์) ซึ่งพบเห็นได้ใน...

เฟต(FET)

เฟต(FET) เฟทมาจากคำว่า Field Effect Transistor เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งคล้ายทรานซิสเตอร์ แต่คุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์จึงมีประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นมาก และถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง รูปร่างภายนอกนั้นเหมือนทรานซิสเตอร์ทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงเบอร์ใช้งานและคุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์นั่นเอง                                                                       รูปที่1 ความพิเศษของมันคือ มีค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุตสูงมาก (ทรานซิสเตอร์มีอิมพิแดนซ์ต่ำ) อัตราการทนแรงดันและกระแส สูง และสำหรับเฟทแล้ว การทำงานจะใช้สนามไฟฟ้าควบคุม (ทรานซิสเตอร์ใช้กระแส) เป็นที่มาของคำว่า Field Effect Transistor มีสองแบบด้วยกันคือ แบบพีแชลแน...

ทรานซิสเตอร์(Transistor)

ทรานซิสเตอร์(Transistor) ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาจากไดโอด ซึ่งคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์นั้น ก็ตามชื่อเลยก็ว่าได้ หมายถึงมันสามารถนำไปใช้งานในด้านขยายสัญญาณให้มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง โดยการป้อนสัญญาณที่มีขนาดเล็กให้ทรานซิสเตอร์ ทรานซิสเตอร์ก็จะนำกระแสได้มากที่สามารถทำให้เกิดสัญญาณขนาดใหญ่ทางขาออกได้สบายๆ                                           รูปที่1. ทรานซิสเตอร์ที่มีตัวถังแตกต่างกันตามการใช้งาน ภายในทรานซิสเตอร์นั้นต่างจากไดโอดตรงที่โครงสร้างที่ประกอบไปด้วยสาร P และสาร N สลับกันเป็นสามชั้นหรือสามส่วนนั่นเอง(ไดโอดมีสองส่วนเท่านั้น) และเรียกชนิดของทรานซิสเตอร์ตามการวางสารกึ่งตัวนำทั้งสองชนิดนี้ไว้ด้วยกัน คือ ชนิดPNPและชนิด NPN              รูปที่2. การวางของสารกึ่งตัวนำและสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ ทรานซิสเตอร์มีขาต่อใช้...

ซีเนอร์ไดโอด(ZENER DIODE)

ซีเนอร์ไดโอด(ZENER DIODE) ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดหนึ่งซึ่งการทำงานตรงกันข้ามกับไดโอดซิลิกอนธรรมดาทั่วไป นั่นคือ เมื่อนำไปใช้งานจะต้องต่อแบบรีเวอร์สให้กับไดโอดชนิดนี้ หากป้อนไฟแบบฟอเวอร์ส จะนำกระแสได้เป็นปกติเหมือนไดโอดซิลิกอนทั่วไปไม่มีคุณสมบัติพิเศษใดๆเกิดขึ้น คุณสมบัติเฉพาะตัวของซีเนอร์ไดโอดนั้นคือ เมื่อป้อนแรงดันกลับ(รีเวอร์ส) ให้กับซีเนอร์ไดโอดแล้ว หากแรงดันมีค่าถึงจุดที่เรียกว่า ซีเนอร์เบรคโอเวอร์(zener break over) ซีเนอร์จะนำกระแสทันที และจะมีแรงดันตกคร่อมที่ตัวมัน ไม่เกินค่าแรงดันเบรคโอเวอร์นี้ ไม่ว่าไฟที่ป้อนมาจะสูงกว่าก็ตาม คุณสมบัตินี้จึงนิยมนำมาทำเป็นวงจรรักษาระดับแรงดันเป็นส่วนมากเพราะอุปกรณ์ที่ใช้มีไม่กี่ตัว ราคาก็ถูก เพียงแต่วงจรแบบนี้จะจ่ายกระแสได้ไม่มากเท่าที่ควร                                                    รูปที่1.ซ...

การเข้าโหมดเซอร์วิส ทีวีสี

การเข้าโหมดเซอร์วิส ทีวีสี JVC,SAMSUNG,DAEWOO,PHILLIPS,LG การเข้าเซอร์วิสโหมด ทีวีสี JVC(Service Mode) แท่นเครื่อง CM-M เช่น รุ่น AV-21P4,AV-21P8,AV-21P9,AV-2983,AV-2993 เป็นต้น *** กดปุ่ม Display และ Picture พร้อมกันที่รีโมท *** การปรับแต่ง โดย กดตัวเลข 0-9 ที่รีโมทเพื่อเลือกรายการ การปรับแต่ง กดปุ่ม ลูกศร ขึ้น-ลง เพื่อเลือกเมนูย่อย กดปุ่มลูกศร ซ้าย-ขวา เพื่อเปลี่ยนค่า กดปุ่ม Display เพื่อย้อนกลับ การเข้าเซอร์วิสโหมด ทีวีสี Samsung แท่นเครื่อง KS2A เช่นรุ่น CS-21A8W, CS-21A8WD, CS-21A8ND, CS-29D8NV เป็นต้น *** เปิดเครื่อง ตั้งเครื่องให้อยู่ในสภาวะสแตนด์บาย โดยการกดปุ่ม power(ปุ่ม power on/off สีแดง) ที่รีโมท กดปุ่มที่รีโมทให้ต่อเนื่องโดยเว้นระยะการกดให้เท่าๆกัน ดังนี้ Display > Menu > Mute > Power *** การปรับแต่ง โดย กดปุ่ม CH ขึ้น-ลง เพื่อเลือกเมนู กดปุ่ม VOL ซ้าย-ขวา เพื่อเปลี่ยนค่า การเข้าเซอร์วิสโหมด ทีวีสี Daewoo รุ่น DCT-2975MS และ Distar รุ่น DT-2939MS *** กดปุ่ม MUTE ที่รีโมท ให้ปรากฎสัญลักษณ์ MUTE ที่หน้าจอ กดปุ่ม MUTE ที่รีโมทและ MENU ที่...

ตัวต้านทาน(Resistor)

ตัวต้านทานนั้น มีบทบาทมากในทุกวงจร ของเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เพราะโดยหลักๆแล้ว ตัวต้านทานนั้นมักเป็นตัวช่วยให้อุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำทำงานได้ โดยเฉพาะทรานซิสเตอร์ หากไม่มีตัวต้านทานไปไบอัสไฟให้ ทรานซิสเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ประเภทไอซีมักมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น บางทีไม่ต้องพึ่งพาตัวต้านทานเลยก็ว่าได้ ถึงอย่างไรก็ดี ตัวต้านทานก็มีความสำคัญกับวงจรทุกวงจรอยู่ดี ตัวต้านทานที่มีใช้งานนั้นมีหลายชนิด มีทั้งแบบค่าคงที่ และปรับค่าได้ ทั้งสองแบบก็แบ่งออกเป็นย่อยๆได้อีกหลายชนิดโดยเฉพาะแบบค่าคงที่ มีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานแตกต่างกันออกไปดังในตาราง ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของตัวต้านทาน ชนิดของ ตัวต้านทาน โครงสร้าง ข้อดี ข้อเสีย ค่าที่มีใช้งาน คาร์บอน คาร์บอน มีค่าความเหนี่ยวนำต่ำทนแรงดันสูง มีความผิดพลาดสูง กำเนิดสัญญาณรบกวนสูง สัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิต่ำ 10 โอห์ม-22 เมกะโอห์ม คาร์บอนฟิล์ม ฟิล์มคาร์บอน วางบนเซลามิก ราคาถูก เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าเริ่มไม่แน่นอน 1โอห์ม-10เมกะโอห์ม เมตัลฟิล์ม ฟิ...

พื้นฐานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ก่อนจะพูดถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องขอกล่าวถึงความหมายอิเล็กทรอนิกส์ก่อนว่ามันคืออะไร มันครอบคลุมถึงไหน บางคนอาจแยกแยะไม่ถูกว่าอิเล็กทรอนิกส์กับไฟฟ้านั้น ที่จริงมันอยู่คนละสายงาน แต่เป็นกลุ่มเดียวกัน เหตุผลก็คือ เครื่องมือหรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์คือเครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่ใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำๆ ส่วนเครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าคือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับไฟฟ้าที่มีแรงดันที่สูงกว่า คำอธิบายแค่อาจยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ หากจะให้ชัดเจนขึ้น เหตุผลก็คือ ไฟฟ้าจะเน้นหนักในแง่ของการนำเอาพลังงานมาใช้ประโยชน์ หรือเปลี่ยนรูปพลังงาน ตัวอย่างเช่น เตารีดไฟฟ้า หรือตู้เย็น เป็นต้น อิเล็กทรอนิกส์จะเน้นหนักในผลของสัญญาณทางไฟฟ้า หรือการเปลี่ยนรูปของสัญญาณไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ถึงอย่างไรปัจจุบันไฟฟ้ากับอิเล็กทรอนิกส์ก็มีความสัมพันธ์กันจนบางทีอาจแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งไหนคือเครื่องมือหรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งไหนคือเครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะเครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างก็นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปควบคุมการทำงานเช่นกัน เช่นตู้เย็นสมัยใหม่ควบคุมระ...

คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง

การขยายสัญญาณเสียงให้มีความดังมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวงขยายเสียง และจะต้องนำไปใช้ในการขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ต้องการความดังสัญญาณต่างกันทำให้การจัดวงจรขยายสัญญาณเสียง หรือจัดคลาสของการขยายต่อกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และทำให้สัญญาณเสียงที่ได้ออกมามีความชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน หรือมีความดังตามต้องการ การจัดคลาสการขยายจัดได้ตามการกำหนดจุดทำงานของวงจรขยาย แบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้ 1.คลาส-เอ(CLASS A) 2.คลาส-บี(CLASS B) 3.คลาส-เอบี(CLASS AB) 4.คลาส-ซี(CLASS C) การจัดวงจรขยายแต่ละคลาสมีจุดทำงานต่างกัน มีลักษณะการทำงานต่างกัน การใช้งานจะต้องเลือกคลาสการขยายให้เหมาะสมถูกต้อง จึงจะทำให้ขยายสมบูรณ์ และมีประสิทธฺภาพสูง วงจรขยายคลาส-เอ(CLASS-A AMPLIFIER) วงจรขยายคลาส-เอ เป็นวงจรขยายที่มีจุดการทำงานอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แอกทีฟ คือ ช่วงการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่เป็นลิเนียร์ หรือหากเปรียบเทียบก็เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำการเร่งเครื่องพร้อมจะรับงานหนักๆได้อยู่ตลอดเวลา วงจรของขยายคลาสเอ จะมีกระแสสงบไหลตลอดเวลาเพื่อให้จุดของการทำงานมีช่วงสวิงของสัญญาณเอาท์พุตไม่ต่ำ...

ไอซีและเบอร์แทน

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์แทน ไอซีและอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ไอซีในเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์(Switching power supply-Computers) AZ 7500 DP เป็นไอซีสร้างพัลซ์วิดม๊อด เบอร์ที่แทนได้คือ TL494 AZ 339 P เป็นออปแอมป์ เบอร์ที่แทนได้คือ LM339 ไอซี RGB Output ของทีวี LG เบอร์ TDA6109JF เบอร์ที่แทนได้คือ TDA6107 ฟลายแบ็คมอนิเตอร์ FBT เบอร์ 2SB28 และ เบอร์ 2SB19 ใช้แทนกันได้ ไอซีภาคจ่ายไฟและภาคไอเอ็ฟ ทีวีของ SHARP ภาคจ่ายไฟ: ไอซีเบอร์ IX1779CE เบอร์ที่แทนได้คือ TEA2261 ภาคไอเอ็ฟ: ไอซีเบอร์ IX0037CE เบอร์ที่แทนได้คือ uPC574J ไอซีในวิทยุ-เทป ไอซีเบอร์ LA4192 เบอร์ที่แทนได้คือ KA2206B,LA4182,LA4183,LA4550,LA4555,TEA2025B ไอซีเบอร์ uPC1263 เบอร์ที่แทนได้คือ uPC1316C ไอซีเบอร์ LA4108 เบอร์ที่แทนได้คือ LA4500, LA4505 ไอซีในทีวีสี ไอซีเบอร์ LA7830 เบอร์ที่แทนได้คือ AN5515,AN5521,IX0640,uPC1378H