ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตัวต้านทานและการใช้งาน

คุณสมบัติของตัวต้านทานนั้นคือ จำกัดกระแสที่ไหลผ่านวงจร มีค่าหน่วยวัดเป็นโอห์มดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในหัวข้อ ตัวต้านทาน(RESISTOR) ในการใช้งานจริงจะมีกฎของโอห์มเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากวงจรทุกวงจรย่อมมี ทั้งแรงดัน กระแส และความต้านทาน

การใช้งานนั้นแบ่งไว้เป็น 2 ลักษณะการใช้งานคือ ใช้ในวงจรสัญญาณหรือวงจรไฟกระแสสลับ (AC Voltage) และวงจรไฟตรง(DC Voltage) แต่การใช้งานงานทั้งสองลักษณะนี้ก็มีรูปแบบที่ไม่ต่างกัน


                                                                            รูปที่1

รูปที่1. เป็นลักษณะวงจรที่ใช้ทั่วไป รูปa เป็นการต่อแบบขนานและนำแรงดันตกคร่อมไปใช้งานซึ่งจ่ายให้โหลดคือ RL ,รูปb ต่อแบบอนุกรมกับโหลดโดยตรง ทั้งสองวงจรนี้ใช้ได้ทั้งไฟกระแสสลับและกระแสตรง


                                                                        รูปที่2.

รูปที่2. เป็นลักษณะวงจรที่ใช้งานทางด้านสัญญาณ(ไฟสลับขนาดเล็ก)เช่นในวงจรขยายเสียงเป็นต้น วงจรนี้เรียกว่าวงจรเรโซแนนซ์ ซึ่งเป็นวงจรจำกัดความถี่บางความถี่เท่านั้นที่ผ่านจากอินพุตไปยังเอาท์พุตได้ สำหรับวงจรด้านล่างของรูปที่2.นั้นสามารถให้ไฟกระแสตรงวิ่งผ่านจากอินพุตไปยังเอาท์พุตได้โดยกำหนดค่าความต้านทานทั้งสองตัวให้สัมพันธ์กัน




                                                               รูปที่3.กฎของโอห์ม
ในการนำไปใช้งานนั้นต้องคำนวณค่าความต้านทานให้สัมพันธ์กับกระแสที่โหลดใช้และแรงดันที่จ่าย โดยนำกฎของโอห์มมาใช้ในการคำนวณดังตัวอย่าง



                                                                        รูปที่4.
จากรูปที่3. สามารถเขียนสูตรสมการได้ดังนี้ V=IxR, R=V/I, I=V/R จากสามสมการนี้เราจะสมมุติโจทย์ขึ้นมาและใช้รูปที่4.อ้างอิงหาค่า
จากรูปที่4.สมมุติแหล่งจ่ายไฟ(V+)มีค่าเท่ากับ 12โวลต์ มีกระแสไหลในวงจร(IL) 10มิลลิแอมป์และโหลดมีค่าความต้านทาน 560 โอห์มจงหาค่า R
จากโจทย์จะหาได้ดังนี้ R=VR/IL และ VR=(V+)-VRLหรือ VR=ILxR
ดังนั้นเราต้องหาแรงดันตกคร่อม RLก่อน
คือ VRL=RLxIL
VRL=560x0.01
จะได้ VRL=5.6Volt
จากค่าแรงดันนี้ หาค่า VR= (V+)-VRL
จะได้ VR= 12v-5.6v
จะได้ VR=6.4v
และหาค่า R ได้ดังนี้ R = VR/IL
จะได้ R= 6.4/0.01
จะได้ R= 640 โอห์ม

จากบทความดังที่กล่าวมานี้ หากใช้งานในทางปฎิบัติจริงๆต้องคำนึงถึงกำลังวัตต์ด้วย เนื่องจาก ตัว
ต้านทานที่มีจำหน่ายจริงๆ มีอัตราการทนกำลังวัตต์ขนาดไม่สูงมากนัก..

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เฟต(FET)

เฟต(FET) เฟทมาจากคำว่า Field Effect Transistor เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งคล้ายทรานซิสเตอร์ แต่คุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์จึงมีประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นมาก และถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง รูปร่างภายนอกนั้นเหมือนทรานซิสเตอร์ทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงเบอร์ใช้งานและคุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์นั่นเอง                                                                       รูปที่1 ความพิเศษของมันคือ มีค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุตสูงมาก (ทรานซิสเตอร์มีอิมพิแดนซ์ต่ำ) อัตราการทนแรงดันและกระแส สูง และสำหรับเฟทแล้ว การทำงานจะใช้สนามไฟฟ้าควบคุม (ทรานซิสเตอร์ใช้กระแส) เป็นที่มาของคำว่า Field Effect Transistor มีสองแบบด้วยกันคือ แบบพีแชลแน...

คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง

การขยายสัญญาณเสียงให้มีความดังมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวงขยายเสียง และจะต้องนำไปใช้ในการขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ต้องการความดังสัญญาณต่างกันทำให้การจัดวงจรขยายสัญญาณเสียง หรือจัดคลาสของการขยายต่อกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และทำให้สัญญาณเสียงที่ได้ออกมามีความชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน หรือมีความดังตามต้องการ การจัดคลาสการขยายจัดได้ตามการกำหนดจุดทำงานของวงจรขยาย แบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้ 1.คลาส-เอ(CLASS A) 2.คลาส-บี(CLASS B) 3.คลาส-เอบี(CLASS AB) 4.คลาส-ซี(CLASS C) การจัดวงจรขยายแต่ละคลาสมีจุดทำงานต่างกัน มีลักษณะการทำงานต่างกัน การใช้งานจะต้องเลือกคลาสการขยายให้เหมาะสมถูกต้อง จึงจะทำให้ขยายสมบูรณ์ และมีประสิทธฺภาพสูง วงจรขยายคลาส-เอ(CLASS-A AMPLIFIER) วงจรขยายคลาส-เอ เป็นวงจรขยายที่มีจุดการทำงานอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แอกทีฟ คือ ช่วงการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่เป็นลิเนียร์ หรือหากเปรียบเทียบก็เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำการเร่งเครื่องพร้อมจะรับงานหนักๆได้อยู่ตลอดเวลา วงจรของขยายคลาสเอ จะมีกระแสสงบไหลตลอดเวลาเพื่อให้จุดของการทำงานมีช่วงสวิงของสัญญาณเอาท์พุตไม่ต่ำ...

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข ในกระบวนการทางดิจิตอลนั้น การติดต่อสื่อสารทางตัวเลข บางครั้ง เมื่อต่างระบบ ค่าตัวเลขก็อาจต่างกัน ระบบหนึ่งอาจใช้เลขฐานสิบ อีกระบบอาจใช้เลขฐานสองในการทำงานในระบบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนเลขฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารให้ทั้ง สองระบบเข้าใจกัน  ดังนั้นจึงควรรู้วิธีการเปลี่ยนระบบเลขฐาน เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการทำการเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบ ดิจิตอลในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนฐานนั้น คือ ค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขในแต่ละฐาน ซึ่งจะบอกให้เราทราบว่า ผลรวมจากค่าประจำตำแหน่งเป็นค่าจริงเท่าไหร่เมื่อเทียบกับค่าเลขในฐานอื่น ซึ่งค่าประจำตำแหน่งจะเขียนให้อยู่ในเลขยกกำลัง ได้ดังนี้                        ตารางเทียบค่าเลขยกกำลัง                                รูปที่1.ตาราง...