บทความยอดนิยม

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ตัวต้านทาน(Resistor)

ตัวต้านทานนั้น มีบทบาทมากในทุกวงจร ของเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เพราะโดยหลักๆแล้ว ตัวต้านทานนั้นมักเป็นตัวช่วยให้อุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำทำงานได้ โดยเฉพาะทรานซิสเตอร์ หากไม่มีตัวต้านทานไปไบอัสไฟให้ ทรานซิสเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ประเภทไอซีมักมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น บางทีไม่ต้องพึ่งพาตัวต้านทานเลยก็ว่าได้ ถึงอย่างไรก็ดี ตัวต้านทานก็มีความสำคัญกับวงจรทุกวงจรอยู่ดี





ตัวต้านทานที่มีใช้งานนั้นมีหลายชนิด มีทั้งแบบค่าคงที่ และปรับค่าได้ ทั้งสองแบบก็แบ่งออกเป็นย่อยๆได้อีกหลายชนิดโดยเฉพาะแบบค่าคงที่ มีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานแตกต่างกันออกไปดังในตาราง
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของตัวต้านทาน
ชนิดของ
ตัวต้านทาน
โครงสร้าง
ข้อดี
ข้อเสีย
ค่าที่มีใช้งาน
คาร์บอน
คาร์บอน
มีค่าความเหนี่ยวนำต่ำทนแรงดันสูง
มีความผิดพลาดสูง กำเนิดสัญญาณรบกวนสูง สัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิต่ำ
10 โอห์ม-22 เมกะโอห์ม
คาร์บอนฟิล์ม
ฟิล์มคาร์บอน
วางบนเซลามิก
ราคาถูก
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าเริ่มไม่แน่นอน
1โอห์ม-10เมกะโอห์ม
เมตัลฟิล์ม
ฟิล์มโลหะอัลลอยด์
วางบนเซลามิก
มีความเที่ยงตรงสูง
มีราคาแพง
5 โอห์ม-10เมกะโอห์ม
เมตัลออกไซด์
ฟิล์มออกไซด์ของ
โลหะบางๆวางบนแก้ว
ประสิทธิภาพทางด้านอุณหภูมิสูง กำเนิดสัญญาณรบกวนต่ำ
มีราคาแพง
0.2โอห์ม-100กิโลโอห์ม
ซีเมนต์
แท่งเซลามิกห่อหุ้ม
ด้วยซิลิกอนแข็ง
ใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี
ค่าความเหนี่ยวนำสูง
0.1โอห์ม-33กิโลโอห์ม
ตัวถัง SMD
เซลามิก
ขนาดเล็ก
ทนกำลังงานต่ำ
1โอห์ม-10เมกะโอห์ม


ส่วนเรื่องของค่าความต้านทานนั้นปกติผู้ผลิตจะทำแถบสีไว้ให้อ่านเป็นค่าออกมา มีทั้งแบบ 5 แถบสี และ 4แถบสี และตัวเลข
โดย4แถบสีจะมีค่าความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5%,10%
และ5แถบสีส่วนมากมีค่าความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 1%,2%
แบบตัวเลข เป็นค่าที่อ่านบนตัวถังแบบ SMD(Sureface Mount Device)หรือแบบติดผิวหน้าปริ้น

การอ่านค่าแถบสีตัวต้านทาน

การ อ่าน 4 แถบสี: เริ่มจากสองแถบสีแรกนั้นเป็นเลขสองหลักแรก ตามด้วยแถบสีที่สาม ซึ่งเป็นตัวคูณ(จำนวนเลขศูนย์),แถบสุดท้ายคือค่าความผิดพลาด
ยกตัวอย่าง เช่น ตัวต้านทานมีแถบสี เหลือง ม่วง แดง ทอง ตัวเลขจะเป็นดังนี้ 47X100 =4700 ค่าที่อ่านได้ คือ 4.7กิโลโอห์ม ค่าความผิดพลาด 5%
การอ่าน 5 แถบสี: อ่านเหมือน 4 แถบสี แต่จะใช้สามแถบแรกเป็นตัวตั้ง แถบที่สี่เป็นตัวคูณ(จำนวนเลขศูนย์) แถบที่ห้าเป็นค่าความผิดพลาด
ยกตัวอย่างเช่น ค่าสีเป็น น้ำตาล ดำ แดง แดง น้ำตาล ตัวเลขจะเป็นดังนี้ 102X100 = 10200 ค่าที่อ่านได้ คือ 10.2กิโลโอห์ม 1%
การ อ่านค่าแบบตัวเลข : การอ่านจะง่ายกว่าแถบสีเพราะไม่ต้องท่องจำค่าสี หรือไม่เกิดความผิดพลาดจากการดูสีผิด ตัวเลขจะเขียนไว้หลัก เช่น 472 นั่นก็คือ 4.7กิโลโอห์มนั่นเอง โดยหลักที่สาม คือตัวคูณนั่นเอง แต่จะไม่มีเลขบอกค่าความคลาดเคลื่อน ส่วนใหญ่จะมีค่าที่ 5% อยู่แล้ว