ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไอซีตั้งเวลา LM555

ไอซีตั้งเวลา LM555/MC1455
เบอร์นี้หลายท่านรู้จักเพราะมันถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย(แต่ถ้าใครยังไม่รู้จักไม่เป็นไร ผู้อ่านจะได้รู้จากบทความนี้แน่แนอน)  เนื่องจากมันเป็นไอซีพื้นฐานของวงจรพัลซ์ ในหลายวงจรจึงใช้ไอซีเบอร์นี้ในการ
ทำงาน เพราะมันเป็นรอยต่อของระบบดิจิตอลและอะนาล็อก ภายในไอซีทำงานแบบอะนาล็อก(รับสัญญาณแบบลิเนียร์)แต่เอาท์พุตเป็นพัลซ์ มีสภาวะเป็นลอจิก ที่เป็นพื้นฐานดิจิตอล ซึ่งมีค่าเป็น Hi-Low("1"-"0")นั่นเอง
ไอซีเบอร์นี้เอามาสร้างเป็นวงจรได้หลายแบบ เช่น วงจรโมโนสเตเบิ้ล วงจรอะสเตเบิ้ล วงจรพัลซ์วิดมอด วงจรหารความถี่ เป็นต้น(บทความนี้ขอกล่าว2อย่างแรก)

LM555/MC1455

วงจรโมโนสเตเบิ้ล(Monostable)
วงจรนี้ก็คือวงจรจำพวกทริกเกอร์นั่นเอง โดยป้อนพัลซ์เข้าวงจร วงจรก็จะสร้างพัลซ์ออกทางเอาท์พุต โดยค่าคาบเวลาของเอาท์พุตจะไม่สัมพันธ์กับค่าคาบเวลาทางอินพุตแต่อย่างใด

Monostable

การทำงานของวงจรมี 3 ขั้นตอน คือ


ภาพประกอบการทำงาน

ก่อนจุดชนวน เริ่มโดยขาอินพุต(ขา2)ยังไม่มีสัญญาณทริก จะมีสถานะเป็น Hiหรือเท่ากับแรงดันจ่ายไฟเลี้ยง ที่เอาท์พุต(ขา3)จะเป็น Low ดังนั้นที่ขาดิสชาร์ท(ขา7)จะมีสภาวะเป็น Low ตาม ขาเทรสโฮล(ขา6)ต่อร่วมกับขา7 C จึงอยู่ในสภาวะถูกดิสชาร์ท
มีการจุดชนวน เมื่อมีสัญญาณทริกเข้ามาที่อินพุต(ขา2) เอาท์พุต(ขา3)จะเป็น Hi ที่ขาดิสชาร์ท(ขา7)หยุดทำงาน ทำให้C สามารถเริ่มชาร์ทไฟได้ เมื่อสัญญาณอินพุตหมด ที่เอาท์พุตจะยังเป็น Hiอยู่จนกว่าCจะชาร์ตจนถึงระดับ 2ใน3 ของไฟเลี้ยง Vcc
สุดท้าย/หลังจากจุดชนวน เมื่อCชาร์ทถึงระดับ 2ใน3ของไฟเลี้ยงVcc วงจรฟลิปฟลอปภายในจะถูกรีเซ็ทจากเอาท์พุตของวงจรเปรียบเทียบแรงดันภายใน เอาท์พุตจึงกลับสถานะ จาก Hiเป็น Low และขาดิสชาร์ทก็จะทำงานอีกครั้ง Cก็จะคายประจุออกจนหมดรอสัญญาณทริกลูกใหม่มาอีกครั้ง

ค่า กระแสเทรสโฮลและค่ากระแสทริกเกอร์


จากรูปวงจรตัวอย่าง Monostable สามารถออกแบบได้จากการใช้ค่าจากตารางเลยก็ได้ หรือถ้าจะคำนวณให้ระเอียดนิดก็ใช้สูตรสมการดังนี้
t = ค่าคาบเวลาที่ต้องการ
Is = 100Xthreshold current
R = Vcc/(3XIs)
C = t/(1.1xR)

วงจรอะสเตเบิ้ล(Astable)
วงจรนี้จะต่อขาต่างกันกับวงจรโมโนสเตเบิ้ลตรงที่ นำขาอินพุต Trigger(ขา2)ไปต่อเข้ากับอินพุต Threshold(ขา6)และแยกขาดิสชาร์ท(ขา7)ออกจากขา6 โดยใช้ตัวต้านทานกั้นไว้ดังรูป

Astable

หลักการทำงานคล้ายๆวงจรโมโนสเตเบิ้ล เพียงแต่สัญญาณทริกเกอร์ใช้แรงดันไฟชาร์ทจากCที่ขา6 มาเป็นสัญญาณทริก การออกแบบสามารถทำการออกแบบได้จากสูตรสมการดังนี้
หาคาบเวลารวม : T=t1+t2=1/f
ค่าDutyCycle มีค่าเป็น % = D
ค่าคาบเวลา Hi : t1 = (D/100)xT
ค่าคาบเวลา Low :t2 = T-t1
ค่าความต้านทานรวม : Rt = Ra+Rb = Vcc/(3xIs)
Is คือกระแสไหลผ่านRt ต้องมีค่ามากว่า IthresholdและItriggerจากคู่มือไอซี
เมื่อได้ค่า Rt แล้วมาหาค่า C และค่า Ra,Rb ดังนี้
C = t1/(0.693xRt)
Rb = t2/(0.693xC)
Ra = Rt-Rb






โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เฟต(FET)

เฟต(FET) เฟทมาจากคำว่า Field Effect Transistor เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งคล้ายทรานซิสเตอร์ แต่คุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์จึงมีประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นมาก และถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง รูปร่างภายนอกนั้นเหมือนทรานซิสเตอร์ทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงเบอร์ใช้งานและคุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์นั่นเอง                                                                       รูปที่1 ความพิเศษของมันคือ มีค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุตสูงมาก (ทรานซิสเตอร์มีอิมพิแดนซ์ต่ำ) อัตราการทนแรงดันและกระแส สูง และสำหรับเฟทแล้ว การทำงานจะใช้สนามไฟฟ้าควบคุม (ทรานซิสเตอร์ใช้กระแส) เป็นที่มาของคำว่า Field Effect Transistor มีสองแบบด้วยกันคือ แบบพีแชลแน...

คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง

การขยายสัญญาณเสียงให้มีความดังมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวงขยายเสียง และจะต้องนำไปใช้ในการขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ต้องการความดังสัญญาณต่างกันทำให้การจัดวงจรขยายสัญญาณเสียง หรือจัดคลาสของการขยายต่อกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และทำให้สัญญาณเสียงที่ได้ออกมามีความชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน หรือมีความดังตามต้องการ การจัดคลาสการขยายจัดได้ตามการกำหนดจุดทำงานของวงจรขยาย แบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้ 1.คลาส-เอ(CLASS A) 2.คลาส-บี(CLASS B) 3.คลาส-เอบี(CLASS AB) 4.คลาส-ซี(CLASS C) การจัดวงจรขยายแต่ละคลาสมีจุดทำงานต่างกัน มีลักษณะการทำงานต่างกัน การใช้งานจะต้องเลือกคลาสการขยายให้เหมาะสมถูกต้อง จึงจะทำให้ขยายสมบูรณ์ และมีประสิทธฺภาพสูง วงจรขยายคลาส-เอ(CLASS-A AMPLIFIER) วงจรขยายคลาส-เอ เป็นวงจรขยายที่มีจุดการทำงานอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แอกทีฟ คือ ช่วงการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่เป็นลิเนียร์ หรือหากเปรียบเทียบก็เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำการเร่งเครื่องพร้อมจะรับงานหนักๆได้อยู่ตลอดเวลา วงจรของขยายคลาสเอ จะมีกระแสสงบไหลตลอดเวลาเพื่อให้จุดของการทำงานมีช่วงสวิงของสัญญาณเอาท์พุตไม่ต่ำ...

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข ในกระบวนการทางดิจิตอลนั้น การติดต่อสื่อสารทางตัวเลข บางครั้ง เมื่อต่างระบบ ค่าตัวเลขก็อาจต่างกัน ระบบหนึ่งอาจใช้เลขฐานสิบ อีกระบบอาจใช้เลขฐานสองในการทำงานในระบบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนเลขฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารให้ทั้ง สองระบบเข้าใจกัน  ดังนั้นจึงควรรู้วิธีการเปลี่ยนระบบเลขฐาน เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการทำการเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบ ดิจิตอลในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนฐานนั้น คือ ค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขในแต่ละฐาน ซึ่งจะบอกให้เราทราบว่า ผลรวมจากค่าประจำตำแหน่งเป็นค่าจริงเท่าไหร่เมื่อเทียบกับค่าเลขในฐานอื่น ซึ่งค่าประจำตำแหน่งจะเขียนให้อยู่ในเลขยกกำลัง ได้ดังนี้                        ตารางเทียบค่าเลขยกกำลัง                                รูปที่1.ตาราง...