เสียงซ่าเหมือนเสียงวิทยุ หรือ อาจจะเป็นความกระด้างของน้ำเสียง อาการนี้จะเกิดและเพิ่มขึ้นเมื่อแอมป์ทำงานใกล้หรือเลยจุดสูงสุด การวัดนี้จะทำการวัดทุกย่านความถี่(20Hz-20KHz)แล้วพล็อตกราฟออกมาเป็นตารางสเป็ค บางที่การวัดนั้นอาจเป็นการวัดในรูปแบบรวม THD+N หรืออาจจะเป็น THD กับ Noise แยกกัน
ส่วนใหญ่ค่านี้ จะไม่ควรให้เกิน 1% ค่าที่ได้จริงควรต่ำกว่า 0.1%(ระดับ Hi-Fiจะต่ำกว่านี้มาก)เพราะว่าค่านี้เป็นค่าที่หูคนเราไม่สามารถจับได้แล้ว แต่ส่วนใหญ่เรื่องการวัดค่านี้ ผู้ผลิตมักวัดต่ำกว่าจุดทำงานสูงสุดของเครื่องขยายสัญญาณอยู่แล้ว ค่าออกมา มาตรฐานการวัดจึงไม่เท่ากันนัก และสังเกตุ แอมป์แบบโซลิทสเตทจะให้ความเพี้ยนสูงที่ค่าการทำงานกำลังวัตต์ต่ำๆ เมื่อค่าการทำงานกำลังวัตต์สูงขึ้นค่าความเพี้ยนจะน้อยลง แต่คนส่วนใหญ่มักจะหลงติดที่ค่าการวัดที่กำลังสูงสุดกัน ซึ่งลืมไปว่าเวลาฟังเพลงเบานั้มันกลับให้เสียงออกมาที่มีความเพี้ยนมากกว่าการที่ฟังเพลงดังๆด้วยซ้ำ ความจริงแล้วค่าความเพี้ยนนี้ สมควรที่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงค่าสูงสุด ณ จุดการทำงานสูงสุดของแอมป์ด้วยซ้ำไป ค่าดังที่กล่าวมานี้พบเห็นได้ในเฉพาะแอมป์หลอดเท่านั้นครับ เพราะค่าความเพี้ยนของแอมป์หลอดนั้นจะเพี้ยนมากที่จุดทำงานสูงสุดเท่านั้น แต่ถ้าจุดทำงานอยู่ในระดับต่ำๆ นั้นความเพี้ยนน้อยมาก กินขาดครับ
S/N (Signal to Noise Ratio) คือ อะไร
อัตราสัญญาณเสียงต่อเสียงรบกวน บางคนอาจไม่เข้าใจความหมายเท่าไรนัก ดังนั้นจึงอธิบายให้กว้างขึ้น นั่นก็คือ การวัดความดังของสัญญาณรบกวนเมื่อแอมป์ถูกใช้งานในการขับกำลังที่ 1 วัตต์ โดยมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล(dB) ที่ผู้ผลิตพยายามวัดค่าเสียงรบกวนเทียบกับกำลังวัตต์สูงสุดก็เพราะว่ามันให้ผลออกมาได้ค่าต่ำมากๆนั่นเอง ผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน EIA นั้น สเป็คที่บอกค่า S/N Ratio จะเขียนค่าเทียบที่ 1 วัตต์ไว้ด้วย หากผู้ผลิตรายใดต้องการจะบิดเบือน มักจะตัดคำนี้ทิ้ง เพื่อไม่ให้ผิดกฎ EIA
ค่าสเป็ค S/N Ratio นี้ส่วนใหญ่ควรให้ได้ค่า ไม่ต่ำกว่า 85dB หากค่าที่บอกเป็นการวัดแยกระหว่าง ปรีแอมป์กับเพาเวอร์แอมป์จะดีมาก แต่ต้องดูว่าเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ด้วยนะ