หรือถ้าจะให้ดีรู้ลึกถึงภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเนโมนิกส์ได้เลยยิ่งดีมาก เพราะการจะพัฒนาโปรแกรมต้องเข้าใจโครงสร้างอย่างละเอียดของไมโครคอนโทรลเลอร์และภาษานีโมนิกส์ที่ใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูลนั้นด้วย ซึ่งในแต่ละตระกูลคำสั่งในการประมวลผลบางคำสั่งก็แตกต่างกัน
รูปแบบใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น อธิบายคร่าวๆได้ดังนี้
>> เขียนโปรแกรม และบันทึก
>> คอมไพล์(แปลภาษา)โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาให้เป็นภาษาไมโครคอนโทรลเลอร์
>> โหลดข้อมูลลงไมโครคอนโทรลเลอร์
>> นำไมโครคอนโทรลเลอร์ทดสอบการทำงาน
>> เมื่อทดสอบผ่าน นำไปใช้งานตามที่ออกแบบไว้
**หมายเหตุ** การคอมไพล์มีหลายระดับสามารถไล่ระดับได้ดังนี้
- ภาษาที่ใกล้เคียงภาษาคนเรียกว่าภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาซี,เบสิก,ปาสคาล,โลโก้ ฯลฯ
- ภาษาแอสเซมบลี หรือนีวโมนิกส์ การแปลภาษาแอสเซมบลีกได้โดย การแอสเซมเบอร์ แล้วจะได้ภาษาเครื่องออกมา
- ภาษาเครื่อง ได้แก่ โค๊ดที่เป็นเลขฐานสิบหก นำไฟล์เลขฐานสิบหกนี้ไปโหลดลงไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อใช้งาน
ในการนำไมโครคอนโทรลเลอร์ไปใช้งาน สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือ
1.คอมพิวเตอร์ : คอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฏิบัติการวินโดว์ มันเป็นพื้นฐานอยู่แล้วที่จะต้องใช้
2.โปรแกรมอิดิตเตอร์ : มันคือโปรแกรมที่ช่วยให้เราสร้างรูปแบบการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เราออกแบบไว้ ว่าจะนำไปใช้งานในด้านใด
โปรแกรมอิดิตเตอร์ M-IDE studio สำหรับ MCS-51 ไมโครคอนโทรลเลอร์
โปรแกรมอิดิตเตอร์ Microcode Studio + สำหรับ Pic ไมโครคอนโทรลเลอร์
โปรแกรมอิดิตเตอร์ AVR studio สำหรับ MCS-51 AVR ไมโครคอนโทรลเลอร์
2.1โปรแกรมคอมไพล์เลอร์ : ตัวนี้สำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมันคือ ตัวแปลภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งอยู่ในรูปของเลขฐานสิบหกหรือฐานสองนั่นเอง แต่ถึงอย่างไรโปรแกรมอิดิตเตอร์บางตัวในปัจจุบันก็มีตัวแปลภาษาให้ไว้แล้วในตัวไม่ต้องหามาเพิ่มเติม
2.2 โปรแกรมโหลดไฟล์ลงไมโครคอนโทรลเลอร์ : เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อกับบอร์ดเขียนข้อมูลเข้าไมโครคอนโทรลเลอร์ โปรแกรมอิดิตเตอร์บางตัวก็สามารถโหลดข้อมูลลงไมโครคอนโทรลเลอร์ได้เลยขึ้นอยู่กับประเภทของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และรุ่นของไมโครคอนโทรลเลอร์
โปรแกรมโหลดข้อมูลลงไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC
3.บอร์ดดาวน์โหลดเดอร์ : มันคือบอร์ดเขียนข้อมูลลงไมโครคอนโทรลเลอร์นั่นเอง
4.บอร์ดทดสอบหรือวงจรใช้งาน : บอร์ดดังกล่าวอาจหมายถึงวงจรที่เราออกแบบไว้ก็ได้เช่นกัน โดยบอร์ดทดสอบอาจไม่ได้อยู่ในรูปของวงจรที่ใช้งานจริงก็ได้ อาจเป็นหลอดไฟดิสเพลย์ธรรมดาก็ได้เพื่อให้รู้ผลคร่าวๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง
-ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่ 1
-ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่ 2
สามารถอ่านข้อมูลที่ละเอียดขึ้น ได้ที่ http://www.etteam.com/article/article.html