บทความยอดนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และหน้าที่การทำงาน



ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และหน้าที่การทำงาน
คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่สามารถทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์
ได้แก่ ตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจับต้องหรือสัมผัสได้นั่นเอง
2.ซอร์ฟแวร์ ได้แก่ โปรแกรม ที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ หรือประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เช่น ระบบปฎิบัติการวินโดว์ XP หรือ Microsoft Office เป็นต้น

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ก็สามารถแบ่งออกเป็นส่วนประกอบต่างๆได้ดังนี้
1.จอแสดงผล (Monitor) ใช้แสดงผล อาจเป็นจอแบบแอลซีดีหรือแบบ CRT ก็ได้


โดย จะรับสัญญาณภาพผ่านทางพอร์ตแสดงผล VGA ที่มีสัญญาณแยกกัน คือ สัญญาณภาพสี แดง เขียว น้ำเงิน และสัญญาณควบคุมการสแกนทางแนวนอนและแนวตั้ง และปัจจุบันการแสดงผลก็ได้เปลี่ยนมาส่งในรูปแบบดิจิตอลแล้ว ที่เรียกว่า DVI Port
2.ตัวเครื่องหรือเคส (Case)เป็นส่วนที่เก็บฮาร์ดแวร์ในส่วนประมวลผล

ภาย ในเคสนี้ จะบรรจุเมนบอร์ดที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบไว้ เช่น ซีพียู แรม การ์ดแสดงผล โมเดม ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะบรรจุอุปกรณ์จ่ายพลังงานรวมไว้ด้วย เมื่อเราซื้อเคสมา
3.เมาส์(Mouse) ใช้ในการสั่งงาน โดยการแสดงการควบคุมเป็นพอยน์เตอร์ทางหน้าจอ ควบคุมโดยการชี้แล้วกด


ในอดีต พอร์ตที่ต่อเมาท์เรียกว่า พอร์ต PS2 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB แล้ว
4.คีย์บอร์ด(Keyboard) ใช้ในการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ และควบคุมสั่งงานโดยปุ่มฟังก์ชั่น

ใน อดีตพอร์ตที่ต่อคีย์บอร์ดก็ใช้ชนิดเดียวกับพอร์ตต่อเมาท์ แต่จะแยกสีไว้เพื่อไม่ให้ต่อผิด และปัจจุบันก็สามารถใช้ในรูปแบบ USB ได้แล้วเช่นกัน




ในตัวเครื่องหรือเคส สามารถแบ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆได้ดังนี้
1.หน่วยประมวลผลกลาง(CPU :Central Processing Unit)มีหน้าที่หลักในการประมวลผล โปรแกรมที่อยู่ในเครื่อง

หาก เปิดเคสมาดูสังเกตุ จะมีซิงค์ระบายความร้อนขนาดใหญ่ติดไว้ เนื่องจากการประมวลผลจะทำงานหนัก มักจะบริโภคพลังงานมากจึงมีความร้อนมากนั่นเอง
2.ฮาร์ดดิสก์(HardDisk)เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ เช่นโปแกรมต่างๆ ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง เป็นต้น เป็นหน่วยความจำประเภทความไวต่ำ

ข้อมูล บนฮาร์ดดิสก์นี้ เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลถาวรก็ได้ เนื่องจากเมื่อหากเราหยุดจ่ายไฟให้ฮาร์ดดิสก์แล้วข้อมูลที่เขียนไว้ใน ฮาร์ดดิสก์ก็ยังคงอยู่นั่นเอง
3.แรม(RAM: Random Access Memmory) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ไว้สำหรับพักข้อมูล คำสั่ง โปรแกรม ที่เราเรียกใช้งานจากฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากการประมวลผลจากCPU ต้องการความเร็วที่สูง การประมวลผล จึงจำเป็นต้องดึงข้อมูลที่จะประมวลผลมาพักไว้ที่แรม เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำประเภทความเร็วสูง นั่นเอง

4.เมนบอร์ด(MainBoard)เป็นแผงวงจรหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อของ CPU,RAM,Harddisk และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆให้สามารถติดต่อและทำงานร่วมกันได้

5.เครื่องอ่าน/เขียน แผ่นซีดีและดีวิดี(CD/DVD RW Drive)

เครื่อง อ่านข้อมูลชนิดนี้ทำงานเหมือนฮาร์ดดิสก์ แต่การเก็บข้อมูลต่างกัน เนื่องจากเครื่องประเภทนี้เน้นการอ่านข้อมูลที่มาจากแผ่นดิสก์ขนาด 12 ซม.นั่นเอง เราเรียกแผ่นชนิดนี้ว่า รอมดิสก์ หรือซีดีรอมนั่นเอง
6.ฟล๊อปปี้ดิสก์ เครื่องอ่าน/เขียนข้อมูลลงดิสก์ที่มีความจุ 1.44 MB ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

เครื่อง อ่าน/เขียนข้อมูลชนิดนี้ ทำการอ่านและเขียนข้อมูลในรูปแบบฮาร์ดดิสก์เช่นกันแต่ความจุน้อยมาก และแผ่นเก็บข้อมูลเราเรียกว่า ดิสก์เกส หรือ ฟล๊อปปี้ดิสก์
7.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ(IO Port) อันได้แก่ พอร์ตของ เมาส์ คีย์บอร์ด USB และ พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน เป็นต้น

8.อุปกรณ์เสริม ได้แก่ การ์ดแสดงผล 3D การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม เป็นต้น อุปกรณ์บางประเภทสามารถต่อผ่านพอร์ต USB ได้ภายหลัง จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงในที่นี้
9.เพาเวอร์ซัพพลาย (PSU: Power Supply Unit) ภาคจ่ายไฟทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้คอมพิวเตอร์