ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ซีเนอร์ไดโอด(ZENER DIODE)

ซีเนอร์ไดโอด(ZENER DIODE)ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดหนึ่งซึ่งการทำงานตรงกันข้ามกับไดโอดซิลิกอนธรรมดาทั่วไป นั่นคือ เมื่อนำไปใช้งานจะต้องต่อแบบรีเวอร์สให้กับไดโอดชนิดนี้
หากป้อนไฟแบบฟอเวอร์ส จะนำกระแสได้เป็นปกติเหมือนไดโอดซิลิกอนทั่วไปไม่มีคุณสมบัติพิเศษใดๆเกิดขึ้น คุณสมบัติเฉพาะตัวของซีเนอร์ไดโอดนั้นคือ เมื่อป้อนแรงดันกลับ(รีเวอร์ส) ให้กับซีเนอร์ไดโอดแล้ว หากแรงดันมีค่าถึงจุดที่เรียกว่า ซีเนอร์เบรคโอเวอร์(zener break over) ซีเนอร์จะนำกระแสทันที และจะมีแรงดันตกคร่อมที่ตัวมัน ไม่เกินค่าแรงดันเบรคโอเวอร์นี้ ไม่ว่าไฟที่ป้อนมาจะสูงกว่าก็ตาม คุณสมบัตินี้จึงนิยมนำมาทำเป็นวงจรรักษาระดับแรงดันเป็นส่วนมากเพราะอุปกรณ์ที่ใช้มีไม่กี่ตัว ราคาก็ถูก เพียงแต่วงจรแบบนี้จะจ่ายกระแสได้ไม่มากเท่าที่ควร

                                                   รูปที่1.ซีเนอร์ไดโอดและสัญลักษณ์
จากวงจร โดยปกติซีเนอร์จะมีอัตราทนกระแสไม่มากนัก จึงต้องมีตัวต้านทานเป็นตัวช่วยในการจำกัดกระแสไว้เพื่อให้ซีเนอร์สามารถทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาด้วยเหตุนี้วงจรแบบนี้จึงจ่ายกระแสที่นำไปใช้งานได้ไม่มากนัก การออกแบบวงจรต้องออกแบบโดยให้ตัวต้านทานมีอัตราการทนกำลังวัตต์ที่สัมพันธ์กับกระแสของซีเนอร์และกระแสโหลดนั่นเอง





    รูปที่2.ตัวอย่างวงจรเรกูเลเตอร์หรือวงจรรักษาระดับแรงดัน


การออกแบบวงจร
จากรูปตัวอย่างหากต้องการออกแบบสามารถคำนวณอย่างง่ายได้ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการใช้งานแรงดัน 12 โวลต์ จ่ายกระแสสูงสุดได้ 1A แต่เรามีแหล่งจ่ายไฟสูงถึง 15 โวลต์ เราสามารถออกแบบและคำนวณตัวต้านทานที่จะนำมาใช้ได้ดังนี้ คือ เลือกใช้ซีเนอร์ไดโอดขนาด 12V 1W(สามารถเลือกขนาดวัตต์ได้ตามความเหมาะสมของวงจร)
คำนวณตัวต้านทานได้จากสมการที่1
สมการที่1 R=(Vin-Vout)/Imax
R คือ ตัวต้านทานที่นำมาใช้,Vin คือ แรงดันป้อนเข้า,Vout คือ แรงดันใช้งาน,Imax คือ กระแสรวมของวงจร
สมการที่2 Imax=(ILoad+Izener)
ILoad คือ กระแสใช้งาน, Izener คือ กระแสของซีเนอร์
สมการที่3 Izener = Pzener/Vzener
Pzener คือ อัตราทนกังลังวัตต์ของซีเนอร์ ,Vzener คือแรงดันของซีเนอร์
เริ่มจากการคำนวณสมการที่3 ,2 ,1 ตามลำดับ
Izener = 1W/12V
Izener = 83.3 mA
Imax = 1A+0.083A
Imax = 1.083A
*** R = (15V-12V)/1.083A
R = 2.7 Ohm
ค่าทนกำลังวัตต์ของตัวต้านทานหาได้จาก
Pr = (Imax) x R
Pr = 1.083 x 2.7
Pr = 2.92 watt
ตัวต้านทานที่มีขายในทองตลาดส่วนใหญ่มีให้เลือกตั้งแต่ 1/4วัตต์, 1วัตต์, 2วัตต์, 3วัตต์, 5วัตต์ จากการคำนวณให้เลือกที่ 3วัตต์หรือ 5 วัตต์
ค่าที่ออกแบบได้ทั้งหมด คือ ซีเนอร์ขนาด 12V 1W, 2.7Ohm 3-5watt ในการใช้งานจริงจะต้องมีตัวเก็บประจุต่อไว้ที่ Vout เพื่อกรองไฟให้เรียบด้วย โดยให้มีค่าแรงดันที่ตัวเก็บประจุสูงกว่าค่า Vout เป็นหนึ่งเท่าตัว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เฟต(FET)

เฟต(FET) เฟทมาจากคำว่า Field Effect Transistor เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งคล้ายทรานซิสเตอร์ แต่คุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์จึงมีประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นมาก และถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง รูปร่างภายนอกนั้นเหมือนทรานซิสเตอร์ทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงเบอร์ใช้งานและคุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์นั่นเอง                                                                       รูปที่1 ความพิเศษของมันคือ มีค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุตสูงมาก (ทรานซิสเตอร์มีอิมพิแดนซ์ต่ำ) อัตราการทนแรงดันและกระแส สูง และสำหรับเฟทแล้ว การทำงานจะใช้สนามไฟฟ้าควบคุม (ทรานซิสเตอร์ใช้กระแส) เป็นที่มาของคำว่า Field Effect Transistor มีสองแบบด้วยกันคือ แบบพีแชลแน...

คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง

การขยายสัญญาณเสียงให้มีความดังมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวงขยายเสียง และจะต้องนำไปใช้ในการขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ต้องการความดังสัญญาณต่างกันทำให้การจัดวงจรขยายสัญญาณเสียง หรือจัดคลาสของการขยายต่อกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และทำให้สัญญาณเสียงที่ได้ออกมามีความชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน หรือมีความดังตามต้องการ การจัดคลาสการขยายจัดได้ตามการกำหนดจุดทำงานของวงจรขยาย แบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้ 1.คลาส-เอ(CLASS A) 2.คลาส-บี(CLASS B) 3.คลาส-เอบี(CLASS AB) 4.คลาส-ซี(CLASS C) การจัดวงจรขยายแต่ละคลาสมีจุดทำงานต่างกัน มีลักษณะการทำงานต่างกัน การใช้งานจะต้องเลือกคลาสการขยายให้เหมาะสมถูกต้อง จึงจะทำให้ขยายสมบูรณ์ และมีประสิทธฺภาพสูง วงจรขยายคลาส-เอ(CLASS-A AMPLIFIER) วงจรขยายคลาส-เอ เป็นวงจรขยายที่มีจุดการทำงานอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แอกทีฟ คือ ช่วงการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่เป็นลิเนียร์ หรือหากเปรียบเทียบก็เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำการเร่งเครื่องพร้อมจะรับงานหนักๆได้อยู่ตลอดเวลา วงจรของขยายคลาสเอ จะมีกระแสสงบไหลตลอดเวลาเพื่อให้จุดของการทำงานมีช่วงสวิงของสัญญาณเอาท์พุตไม่ต่ำ...

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข

การเปลี่ยนฐานของระบบเลข ในกระบวนการทางดิจิตอลนั้น การติดต่อสื่อสารทางตัวเลข บางครั้ง เมื่อต่างระบบ ค่าตัวเลขก็อาจต่างกัน ระบบหนึ่งอาจใช้เลขฐานสิบ อีกระบบอาจใช้เลขฐานสองในการทำงานในระบบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนเลขฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารให้ทั้ง สองระบบเข้าใจกัน  ดังนั้นจึงควรรู้วิธีการเปลี่ยนระบบเลขฐาน เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการทำการเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบ ดิจิตอลในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนฐานนั้น คือ ค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขในแต่ละฐาน ซึ่งจะบอกให้เราทราบว่า ผลรวมจากค่าประจำตำแหน่งเป็นค่าจริงเท่าไหร่เมื่อเทียบกับค่าเลขในฐานอื่น ซึ่งค่าประจำตำแหน่งจะเขียนให้อยู่ในเลขยกกำลัง ได้ดังนี้                        ตารางเทียบค่าเลขยกกำลัง                                รูปที่1.ตาราง...