ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เฟต(FET)

เฟต(FET)เฟทมาจากคำว่า Field Effect Transistor เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งคล้ายทรานซิสเตอร์ แต่คุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์จึงมีประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นมาก และถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง รูปร่างภายนอกนั้นเหมือนทรานซิสเตอร์ทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงเบอร์ใช้งานและคุณสมบัติอันพิเศษกว่าทรานซิสเตอร์นั่นเอง



                                                                      รูปที่1
ความพิเศษของมันคือ มีค่าอิมพิแดนซ์ทางด้านอินพุตสูงมาก (ทรานซิสเตอร์มีอิมพิแดนซ์ต่ำ) อัตราการทนแรงดันและกระแส สูง และสำหรับเฟทแล้ว การทำงานจะใช้สนามไฟฟ้าควบคุม (ทรานซิสเตอร์ใช้กระแส) เป็นที่มาของคำว่า Field Effect Transistor มีสองแบบด้วยกันคือ แบบพีแชลแนลและเอ็นแชลแนล นอกจากนี้เฟทแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ JFET และ MOSFET สองชนิดนี้แตกต่างกันที่โครงสร้างภายในของการวางชิ้นสารกึ่งตัวนำพีและเอ็น
เจเฟต(JFET)เจเฟตมาจากคำว่า Junction Field Effect Transistor ลักษณะโครงสร้างประกอบไปด้วยชั้นสารซิลิกอน N ซึ่งได้รับการแพร่ลงบนรอยต่อของชิ้นสารพีและสารเอ็น เฟตนั้นมีขาใช้งาน 3 ขา คือ เดรน(drain),ซอร์ส(source),เกต(gate) เขียนย่อว่า D,S,G ตามลำดับ


                                                                            รูปที่2
ความสามารถในการนำกระแสของเฟตนั้นขึ้นอยู่กับแรงดันที่ขาเกต ถ้าแรงดันเป็นลบมาก กระแสที่ไหลผ่านเดรนกับซอร์ทก็จะน้อย และถ้าแรงดันนี้เป็นลบถึงค่าหนึ่ง จะทำให้ไม่มีกระแสเดรนไหลเลย แรงดันเกตนี้เรียกว่า แรงดันพิตช์ออฟ(pitch off voltage) ปกติมีค่าประมาณ -5 โวลต์



มอสเฟต(MOSFET)มอสเฟตมาจากคำว่า Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistor เป็นเฟตที่ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำที่มีการเคลือบผิวบางส่วนด้วยโลหะออกไซด์ข้อเด่นของเฟตชนิดนี้คือ ค่าความต้านทานทางอินพุต(เกต)มีค่าสูงมาก มอสเฟตแบ่งเป็นสองแบบคือ แบบดีพลีชั่นและแบบเอนฮานซ์เมนต์ ทั้งสองแบบนี้ควบการทำงานแตกต่างกัน คือ แบบดีพลีชั่นใช้ไฟลบควบคุมทำงานของมอสเฟต ส่วนแบบเอนฮานซ์เมนต์ใช้ไฟบวกควบคุมการทำงานของมอสเฟต


                                                                            รูปที่3

มอสเฟตส่วนใหญ่มักนำไปใช้ในงานที่ใช้กำลังวัตต์สูงๆ เช่น ภาคควบคุมไฟ(switching power supply) , เครื่องขยายเสียงมอสเฟต เป็นต้น







โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คลาสต่างๆของวงจรขยายเสียง

การขยายสัญญาณเสียงให้มีความดังมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวงขยายเสียง และจะต้องนำไปใช้ในการขยายสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ต้องการความดังสัญญาณต่างกันทำให้การจัดวงจรขยายสัญญาณเสียง หรือจัดคลาสของการขยายต่อกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และทำให้สัญญาณเสียงที่ได้ออกมามีความชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน หรือมีความดังตามต้องการ การจัดคลาสการขยายจัดได้ตามการกำหนดจุดทำงานของวงจรขยาย แบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้ 1.คลาส-เอ(CLASS A) 2.คลาส-บี(CLASS B) 3.คลาส-เอบี(CLASS AB) 4.คลาส-ซี(CLASS C) การจัดวงจรขยายแต่ละคลาสมีจุดทำงานต่างกัน มีลักษณะการทำงานต่างกัน การใช้งานจะต้องเลือกคลาสการขยายให้เหมาะสมถูกต้อง จึงจะทำให้ขยายสมบูรณ์ และมีประสิทธฺภาพสูง วงจรขยายคลาส-เอ(CLASS-A AMPLIFIER) วงจรขยายคลาส-เอ เป็นวงจรขยายที่มีจุดการทำงานอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แอกทีฟ คือ ช่วงการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่เป็นลิเนียร์ หรือหากเปรียบเทียบก็เหมือนเครื่องยนต์ที่ทำการเร่งเครื่องพร้อมจะรับงานหนักๆได้อยู่ตลอดเวลา วงจรของขยายคลาสเอ จะมีกระแสสงบไหลตลอดเวลาเพื่อให้จุดของการทำงานมีช่วงสวิงของสัญญาณเอาท์พุตไม่ต่ำ...

ตัวต้านทานปรับค่าได้(Variable Resistor)

ตัวต้านทานปรับค่าได้(Variable Resistor) ตัวต้านทานปรับค่าได้มีหลายแบบด้วยกัน เช่น แบบหมุนแกน แบบปรับแท็ป แบบทริม และรีโอสตัด                                    รูปที่ 1.สัญลักษณ์ตัวต้านทานปรับค่าได้เมื่อเทียบกับของจริง แบบหมุนแกน(Potentiometer) ตัวต้านทานปรับค่าได้หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าโวลลุ่ม(volume) ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะว่าส่วนใหญ่พบเจอในเครื่องขยายเสียงแล้วเรียกกันจนติดปาก ความจริงมีให้เห็นกันมากมาย ไม่เฉพาะในเครื่องขยายเสียง เครื่องมือวัดก็ใช้กัน โทรทัศน์รุ่นเก่าๆ เครื่องคุมแสง สี เครื่องจ่ายไฟสำหรับห้องทดลอง เป็นต้น                                                 รูปที่...